การบัญชีบริหาร
ผู้บริหารส่วนใหญ่มักไม่ค่อยให้ความสนใจกับการจัดทำบัญชี และยกภาระด้านบัญชีทั้งหมดให้กับผู้จัดการบัญชี หรือสำนักงาน บัญชีภายนอก ซึ่งมักจะรับผิดชอบจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของทางการ เพื่อส่งสรรพากรเท่านั้น กว่าผู้บริหารจะหันมา ให้ความสนใจ ธุรกิจก็ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องแล้ว หรือเมื่อเห็นโอกาสที่จะเติบโตขยายธุรกิจ ก็จะไม่มีเงินเหลือพอที่จะลงทุน โดยแท้จริงแล้ว ผู้บริหารควรให้ความสนใจกับข้อมูลทางงบการเงินของบริษัทเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้จะไม่เข้าใจวิธีการลงบัญชีก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยในการวิเคราะห์ผลประกอบการในอดีตที่ผ่านมา ทำให้ทราบจุดอ่อน จุดแข็งทางการเงินขององค์กร และเป็น แนวทางในการตัดสินใจกำหนดแผนงานในอนาคต
การบัญชีที่ทำขึ้นเพื่อให้บุคคลภายนอกนำข้อมูลทางบัญชีหรืองบการเงินไปใช้นี้ เรียกว่า การบัญชีการเงิน (Financial Accounting) ซึ่งจะจัดทำขึ้นโดยใช้ หลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป (GAAP) ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกกิจการ
แต่การบัญชีที่ทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลทางบัญชี หรือ รายงานสำหรับฝ่ายบริหาร เพื่อให้ผู้บริหารใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ วางแผน ติดตามผล และควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงาน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานของกิจการ การบัญชีลัักษณะนี้ เรียกว่า การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting) ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้จะมีทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูล ที่ไม่ใช่เป็นตัวเงินที่ เกิดขึ้นจริง
ที่มา : สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์ , ภาวนา สายชู (MBA HANDBOOK)