http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,990,349
เปิดเพจ7,845,105

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

ไขปัญหาภาษี BOI

ไขปัญหาภาษี BOI

1. คำถาม : บริษัทได้รับส่งเสริมการลงทุน เมื่อบริษัทนำเข้าเครื่องจักรราคา 1 ล้านบาท มาจากต่างประเทศโดยไม่เสียอากรขาเข้าและ ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยวางเงินประกันไว้ใน ปีที่ 1 ของการก่อสร้างโรงงาน และเครื่องจักรได้ถูกติดตั้งในช่วงการก่อสร้างโรงงาน แต่ในปีที่ 2 ของการก่อสร้าง เครื่องจักรดังกล่าวถูกไฟไหม้เสียหายเหลือเป็นซากใช้งานไม่ได้ บริษัทเปิดประมูลซากได้ 1 หมื่นบาท แต่ยังไม่ขายออกไป และได้ขออนุมัติตัดรายชื่อเครื่องจักรออกจากการส่งเสริมการลงทุน
1. บริษัทมีภาระภาษีมูลค่าเพิ่มขานำเข้าตามราคานำเข้า 1 ล้านบาทหรือตามราคาซาก 1 หมื่นบาท

2. เมื่อจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มนำเข้าตามข้อ 1 จะถือเป็นภาษีของเดือนที่นำเข้า ซึ่งต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม หรือของเดือนที่จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มให้ศุลกากร ซึ่งเป็นเดือนปัจจุบัน

3. ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายกรมศุลกากร บริษัทสามารถนำมาเป็นภาษีซื้อในเดือนที่จ่ายใช่หรือไม่

4. เมื่อขายเศษซากไป จะต้องออกใบกำกับภาษีและนำส่งในเดือนที่ขายใช่หรือไม่

5. หากเศษซากที่จะขาย ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากร คือไม่ต้องเสียอากรนำเข้า บริษัทยังต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มนำเข้าหรือไม่

คำตอบ : 1. บริษัทต้องชำระภาษี-มูลค่าเพิ่มจากฐานภาษีขณะนำเข้า 1 ล้านบาท เนื่องจากไม่เข้าลักษณะเป็นเครื่องจักรที่นำมาใช้ในกิจการ BOI แล้ว
2. และ 3. ต้องถือเป็นภาษีซื้อของเดือนที่นำเข้า และต้องมีเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

4. จะต้องออกใบกำกับภาษีและนำส่งในเดือนที่ขายถูกต้องแล้ว

5. หากเป็นกรณีได้รับยกเว้นอากรตามภาค 4 ของกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากร บริษัทได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้า

2. คำถาม : กรณีขายเศษวัสดุ เช่น กล่องหรือบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการนำเข้าวัตถุดิบ จะ ถือว่าเป็นรายได้ของกิจการ Non-BOI ใช่หรือไม่
คำตอบ : ถือเป็นรายได้ของกิจการ Non-BOI

3. คำถาม : กิจการได้รับส่งเสริมการลงทุนประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกิน 25% จะต้องเสียเงินเพิ่มจากกิจการ Non-BOI หรือจากยอดรวมทั้งหมด
คำตอบ : กรณีกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน ประกอบกิจการทั้งประเภท BOI และ Non-BOI หากประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 จะต้องเสียเงินเพิ่มจากประมาณการของกิจการ Non-BOI

4. คำถาม : บริษัทเป็นกิจการ SMEs ได้รับส่งเสริมการลงทุน ในการประกอบการ ดังต่อไปนี้จะต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร
กิจการ BOI กำไร 200,000 บาท

กิจการ Non-BOI กำไร 70,000 บาท

คำตอบ : ไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใดหากบริษัทเป็นกิจการ SMEs มีทุนจดทะเบียน ที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท

5. คำถาม : 1. เงินได้จากการขายแม่พิมพ์สำหรับกิจการได้รับส่งเสริมการลงทุน ถือเป็นรายได้ของกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน หรือไม่
2. ดอกเบี้ยรับเงินฝากออมทรัพย์ที่ใช้ถอนเงินแบบระบบอัตโนมัติจากออมทรัพย์ไปยังกระแสรายวันถือเป็นดอกเบี้ยของ BOI หรือไม่

คำตอบ : 1. รายได้จากการขายแม่พิมพ์ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนและหมดสภาพหรือไม่เหมาะสมที่จะใช้งานต่อไป ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและกรมสรรพากรแล้ว ถือเป็นรายได้ BOI
2. ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ถือ เป็นรายได้ที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน ในจำนวน ไม่เกินร้อยละ 2 ของรายได้ BOI นั้น จำกัดเฉพาะรายได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น ไม่รวมถึงบัญชีออมทรัพย์ที่ผูกติดกับบัญชีกระแสรายวัน

6. คำถาม : 1. กิจการได้รับส่งเสริมการลงทุน และได้พ้นกำหนดเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ในปี 2551 กิจการมีการจ่ายเงินปันผลในปี 2552 ในส่วนของกิจการ BOI จะต้องหักภาษีเงินได้หรือไม่ หากหักไว้ 10% ผู้มีเงินได้สามารถนำไปเครดิตภาษีได้หรือไม่
2. กรณีจ่ายเงินปันผลโดยการเพิ่มทุนหลังหมด BOI ต้องหักไว้ 10% หรือไม่

3. เมื่อหมด BOI เงินปันผลไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องหัก ณ ที่จ่าย ใช่หรือไม่

คำตอบ : กรณีหมด BOI แล้วมาจ่ายเงินปันผลหรือเพิ่มทุน กรณีถือว่าไม่ได้รับยกเว้นภาษีเนื่องจากเป็นการจ่ายเงินปันผลภายหลังจากที่พ้นกำหนดเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกิจการ BOI แล้ว ดังนั้น บริษัทที่จ่ายเงินปันผลมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% โดยผู้รับเงินปันผลที่เป็นบุคคลธรรมดามีสิทธินำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไว้ในอัตราร้อยละ 10 นั้น ไปหักจากภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย ในการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีได้ แต่จะไม่ได้เครดิตภาษีเงินปันผลเพราะเป็นเงินปันผลที่บริษัท BOI ไม่ได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

7. คำถาม : 1. กิจการได้รับส่งเสริมการลงทุน ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่อยู่ใน Free zone ต้องถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
2. กิจการได้รับส่งเสริมการลงทุน ขายสินค้าให้ผู้ประกอบการที่อยู่ใน Free zone ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

คำตอบ : 1. กรณีกิจการ BOI ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่ในเขต Free zone หากกิจการ BOI เป็นผู้ยื่นใบขนขา เข้าเอง จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)ฯ คือ ผู้ประกอบการที่อยู่ใน Free zone ไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าที่ขายให้กิจการ BOI มาถือเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากผู้ประกอบการใน Free zone เป็นผู้ยื่นใบขนขาเข้าแล้ว กิจการ BOI จะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ขายจึงจะไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าที่ขายมาถือเป็นมูลค่าของฐานภาษี
2. กรณีกิจการ BOI ขายสินค้าให้ ผู้ประกอบการที่อยู่ใน Free zone เข้าลักษณะเป็นการส่งออกสินค้า ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

8. คำถาม : กรณีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ฉบับที่ 38/2552 ถ้ามีภาษีที่ต้องเสียแต่ไม่ได้เสีย จะต้องมีเงินเพิ่มเบี้ยปรับหรือไม่
คำตอบ : หากมีภาษีที่ต้องเสียแต่ไม่ได้เสีย จะต้องเสียเงินเพิ่ม และหากถูกเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินเรียกเก็บภาษีจะถูกเรียกเก็บเบี้ยปรับด้วย

9. คำถาม : บริษัทได้รับส่งเสริมการลงทุน จำนวน 3 โครงการ โครงการที่ 1 และ 2 พ้นกำหนดเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี แล้ว ส่วนโครงการที่ 3 ยังอยู่ระหว่างการได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี บริษัทจ่ายเงินปันผลของโครงการที่ 3 บางส่วนก่อนได้หรือไม่ โดยไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายร้อยละ 10
คำตอบ : กรณีกิจการมีกำไรก็สามารถจ่ายเงินปันผลได้ ซึ่งหากเป็นการจ่ายเงินปันผลในระหว่างระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกิจการที่ได้ BOI บริษัทไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เพราะเป็นเงินปันผลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้

10. คำถาม : กรณีบริษัทถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์ BOI ย้อนหลัง ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มจะเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่มอย่างไร
คำตอบ : หากถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์โดยให้มีผลย้อนหลัง บริษัทจะไม่ได้สิทธิการวางประกันภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าเครื่องจักรหรือวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออกตามโครงการที่ได้ BOI ตามมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร โดยจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนตั้งแต่เดือนที่นำเข้าเครื่องจักรหรือวัตถุดิบนั้น

11. คำถาม : กรณีบริษัทโอนบัตรส่งเสริม BOI โดยได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และบริษัทมีผลขาดทุนสะสม BOI คงเหลือ จะใช้ผลขาดทุนดังกล่าวได้ 5 ปีนับจากวันโอนสิทธิ ถูกต้องหรือไม่
คำตอบ : ถูกต้องแล้ว

12. คำถาม : บริษัทฯ ได้รับ BOI 3 บัตร โดยบัตร 1 ยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี บัตร 2 ยกเว้นภาษีเงินได้ 5 ปี และบัตร 3 ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี จะนำขาดทุนสะสมในปีที่ 4 จากยอดใดมาหักได้

คำตอบ : บริษัทมีสิทธินำผลขาดทุนสะสมจากช่องรวม (ช่องสุดท้าย) สำหรับปีที่ 1 จำนวน 10 มาหักออกจากกำไรของบัตรที่ 1 ในปีที่ 4 จำนวน 30 ได้ คงเหลือกำไรที่ต้องชำระภาษีจำนวน 20

13. คำถาม : 1. บริษัทได้รับบัตรส่งเสริม 1 ใบ แต่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี 2 โครงการ โครงการที่ 1 ยกเว้นภาษี 7 ปี โครงการที่ 2 ได้รับยกเว้นภาษี 8 ปี วันเริ่มมีรายได้จะแยกนับ หรือนับวันที่โครงการใดโครงการหนึ่งเริ่มมีรายได้
2. กำลังการผลิตในบัตรส่งเสริมให้ต่อปีไม่เกิน 1 ล้าน 2 แสนชิ้นต่อปี จะเริ่มนับวันแรกเมื่อใดระหว่าง

• วันที่ได้รับอนุมัติบัตรส่งเสริม

• วันที่เริ่มมีรายได้

• วันเริ่มรอบระยะเวลาบัญชี

• วันที่มีการผลิต แต่ยังมิได้ขาย

คำตอบ : 1.ให้เริ่มนับแยกแต่ละโครงการว่าเริ่มมีรายได้เมื่อใด
2. วันแรกเริ่มนับเมื่อวันที่เริ่มมีรายได้

14. คำถาม : ค่าขนส่งที่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า ครอบคลุมอะไรบ้าง
คำตอบ : หมายถึงเฉพาะค่าขนส่งสินค้าและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าที่ได้ BOI และต้องเป็นค่าขนส่งในประเทศเท่านั้น

15. คำถาม : บริษัทมีรอบระยะเวลาบัญชี 1 พฤศจิกายน – 31 ตุลาคม พ้นกำหนดเวลาการยกเว้นภาษีตามบัตรส่งเสริมฯ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 มีผลขาดทุนสะสมจากกิจการ ที่ได้ส่งเสริมการลงทุนถึงปีปัจจุบัน ซึ่งผลขาดทุนครบ 5 ปี ในวันที่ 31 มีนาคม 2552 ดังนี้ ในรอบระยะเวลาบัญชี 1 พฤศจิกายน 2551 ถึง 31 ตุลาคม 2552 บริษัทต้องยื่นงบ 2 ช่วงหรือไม่ (ช่วงแรกได้รับส่งเสริม ช่วงหลังเป็นปกติ) และจะนำผลขาดทุนไปใช้อย่างไร
คำตอบ : เนื่องจากผลขาดทุนจากกิจการ BOI ได้ครบกำหนด 5 ปีนับจากพ้นระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในวันที่ 31 มีนาคม 2552 ดังนั้นในรอบระยะเวลาบัญชี 1 พฤศจิกายน 2551 ถึง 31 ตุลาคม 2552 ซึ่งบริษัทจะต้องคำนวณกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทจึงไม่มีสิทธินำผลขาดทุนจากกิจการ BOI ซึ่งพ้นกำหนด 5 ปีแล้วมาใช้

http://www.sanpakornsarn.com

 

 

Tags : ไขปัญหาภาษี BOI

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view