http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,994,847
เปิดเพจ7,850,451

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

จ่ายเงินทดลองต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

จ่ายเงินทดลองต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

การประกอบธุรกิจในปัจจุบันโดยทั่วไป จะพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะมีรายจ่ายประเภทต่างๆ ในรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรายจ่ายที่เป็นต้นทุนของสินค้า หรือบริการโดยตรง หรือรายจ่ายประเภทที่เป็นรายจ่ายเพื่อการบริหารงาน ซึ่งรายจ่ายประเภทต่างๆ เหล่านี้ หากกิจการได้จ่ายไปจริงแล้วก็ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ และหาก เป็นกรณีที่ถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มไปด้วยแล้ว ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ย่อมนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นนั้นมาใช้เป็นภาษีซื้อ ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
อย่างไรก็ดี มีรายจ่ายประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำนั่นคือรายจ่ายประเภทการทดรองจ่ายที่กิจการได้จ่ายแทนผู้อื่นไป หรือมีบุคคลอื่นทดรองจ่ายแทนไปก่อนแล้วมาเรียกเก็บคืนจากกิจการ ที่ยังมีข้อถกเถียงกันว่าเงินทดรองจ่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ อย่างไร และหากเป็นกรณีการทดรองจ่ายแทนผู้อื่นไปก่อนแล้วจะนำภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมาใช้เป็นภาษีซื้อ ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่ จึงเป็นที่มาของบทความนี้ซึ่งจะนำเสนอประเด็น อันเกี่ยวกับเงินทดรองจ่ายตามแนวคำวินิจฉัยของกรมสรรพากรว่า เงินทดรองจะมีภาระภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ อย่างไร และในกรณีใดบ้าง


หลักการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax - VAT) เป็นภาษีบริโภค หรือที่เรียกกันติดปากว่าเป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ จึงเห็นว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีที่เป็นการบริโภคในประเทศนั้นจะอิงกับการขายสินค้าหรือการให้บริการเป็นหลัก การใดก็ตามที่ไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า หรือไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการแล้ว การนั้นก็ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับประมวลรัษฎากรได้มีการกำหนดกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในมาตรา 77/2 สรุปความได้ว่าการกระทำกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการโดยผู้ประกอบการ และการนำเข้าสินค้าโดยผู้นำเข้านั้น จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาว่าลักษณะใดบ้างที่ถือเป็นการขายสินค้า และลักษณะใดบ้างที่ถือเป็นการให้บริการแล้ว จะพบว่ามีการกำหนดนิยามไว้ในมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร สรุปความว่า "ขาย" หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ และให้หมายความรวมถึงการอื่นที่กำหนดไว้ ส่วน "บริการ" หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความรวมถึงการใช้บริการของตนเอง ไม่ว่าประการใดๆ

 

อะไรคือเงินทดรองจ่าย

หากจะกล่าวเฉพาะถึงคำว่า "เงินทดรอง" จะพบว่าประมวลรัษฎากรมิได้มีการให้คำนิยามคำว่าเงินทดรองไว้เลย ดังนั้น เมื่อจะต้องพิจารณากันว่าเงินทดรองใดบ้างที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และในกรณีใดไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป ข้อเท็จจริงรายหนึ่งๆ ที่กรมสรรพากรเคยวินิจฉัยไปแล้วอาจนำไปใช้กับข้อเท็จจริงรายอื่นไม่ได้ ด้วยเพราะว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มีรายละเอียดแตกต่างกันก็ได้


แนววินิจฉัยของกรมสรรพากร

ดังได้กล่าวมาแล้วว่าประมวลรัษฎากรมิได้มีคำนิยามของคำว่าเงินทดรองไว้ ดังนั้น การศึกษาในประเด็นดังกล่าวจึงมีความจำเป็นที่ จะต้องศึกษาจากแนววินิจฉัยของกรมสรรพากร ซึ่งจะพบว่าภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการ นำระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 แนววินิจฉัยของกรมสรรพากรอันเกี่ยวกับเงินทดรองในประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น มีความหลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งได้รวบรวมสรุปแนววินิจฉัยของกรมสรรพากรในประเด็นหลักที่น่าสนใจได้ดังนี้

1. บริษัทผู้ขายได้จำหน่ายสินค้าโดยจัดส่งให้ลูกค้าโดยบริษัทไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง บริษัทได้ติดต่อให้บุคคลอื่นเป็นผู้ขนส่งสินค้าให้ แต่บริษัทต้องทดรองจ่ายค่าขนส่งให้ลูกค้า แล้วจึงมาเรียกเก็บกับลูกค้าโดยแยกราคาสินค้าและราคาค่าขนส่ง ไม่ถือเป็นการทดรองจ่าย กรณีนี้บริษัทผู้ขายสินค้าจะต้องนำค่าขนส่งที่เรียกเก็บจากลูกค้ามาเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย (หนังสือที่ กค 0802(กม)/พ.760 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2536)

2. บริษัทในเครือที่อยู่ในประเทศไทยได้ทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่บริษัทแม่ซึ่งตั้งอยู่ในต่างประเทศจะต้องจ่ายในประเทศไทยแทนบริษัทแม่ไปก่อน โดยบริษัทในเครือได้รับใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีในนามของตนเองซึ่งเป็น ผู้ทดรองจ่าย ดังนี้ เมื่อบริษัทในเครือได้เรียกเก็บเงินคืนจากบริษัทแม่ กรณีถือเป็นการได้รับเงินทดรองจ่ายคืน ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษี มูลค่าเพิ่ม และบริษัทในเครือไม่สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ได้รับมาใช้เป็น ภาษีซื้อได้ (หนังสือที่ กค 0802/พ.3179 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2537)

3. บริษัทในเครือที่อยู่ในประเทศไทยได้ทดรองจ่ายค่าระวาง ค่าที่พัก ค่าโรงแรมให้แก่พนักงานบริษัทแม่หรือบริษัทในเครืออื่นที่อยู่ในต่างประเทศในระหว่างที่พนักงานเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย โดยบริษัทในเครือได้รับ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีในนามของตนเอง ซึ่งเป็นผู้ทดรองจ่าย เมื่อบริษัทในเครือได้เรียกเก็บเงินคืนจากบริษัทแม่หรือบริษัทในเครืออื่นๆ ถือเป็นการได้รับเงินทดรองจ่ายคืน ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และบริษัทในเครือไม่สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี ที่ได้รับมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ (หนังสือที่กค 0802/18872 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2538)

4. บริษัทจ่ายค่าโฆษณาในส่วนของตนเอง และได้ทดรองจ่ายค่าโฆษณาแทนบริษัทในเครือ เมื่อบริษัทในเครือได้เรียกเก็บเงินคืนจากบริษัทแม่หรือบริษัทในเครืออื่นๆ ถือเป็นการได้รับ เงินทดรองจ่ายคืน ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และบริษัทในเครือไม่สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ได้รับมาใช้เป็น ภาษีซื้อได้ (หนังสือที่ กค 0802/พ.3205 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2539)

http://www.sanpakornsarn.com

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view