http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,991,982
เปิดเพจ7,847,106

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

รูปแบบบัญชีและรายงาน

รูปแบบบัญชีและรายงาน 

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 แต่ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติให้ผู้ประกอบการบางประเภทไม่ว่าจะประกอบการในรูปของบุคคลธรรมดา บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นใด มีหน้าที่จัดทำบัญชีพิเศษเพิ่มเติม นอกเหนือจากบัญชีที่ต้องจัดทำตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี

 

              บัญชีพิเศษและรายงานตามประมวลรัษฎากร

 

1. บัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการนำส่ง เพื่อให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายได้บันทึกรายการภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้เพื่อป้องกันการหลงลืมที่จะนำส่งภาษีดังกล่าว และเป็นการอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ที่จะทำการตรวจสอบ

(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย มีบัญชีพิเศษ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531)

 

2. บัญชีพิเศษสำหรับกิจการโรงสีขนาดเล็ก เพื่อให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่จัดทำรายงานการค้าข้าวประจำวันตามกฎหมายว่าด้วยการค้าข้าวของกระทรวงพาณิชย์ได้มีบัญชีคุมสินค้าสำหรับกิจการโรงสีขนาดเล็ก ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวที่มีกำลังการผลิตต่ำกว่า 5 เมตริกตันต่อ 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะใช้เครื่องสีข้าวเครื่องเดียวหรือหลายเครื่องก็ตาม จึงมีบัญชีพิเศษที่ต้องจัดทำดังนี้

- บัญชีรับข้าวเปลือกจากผู้ว่าจ้างสีข้าว

- บัญชีรับจ่ายข้าวเปลือก

- บัญชีรับจ่ายผลิตภัณฑ์และวัตถุพลอยได้จากการสีข้าว

(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 1) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีเงินได้จากการทำกิจการโรงสีข้าว มีบัญชีพิเศษแสดงรายการและปริมาณข้าวเปลือก ต้นข้าว ปลายข้าวและรำ ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2522)

 

3. บัญชีพิเศษสำหรับกิจการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เช่น โรงพยาบาลเอกชน โพลีคลินิก หรือสถานพยาบาลอื่น จัดทำบัญชีพิเศษนี้เพื่อแสดงรายการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประกอบโรคศิลปะ เพื่อใช้ตรวจสอบรายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ของผู้ประกอบโรคศิลปะ

(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 10) เรื่อง กำหนดให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มีบัญชีพิเศษ ตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2522)

 

4. บัญชีพิเศษสำหรับกิจการค้าของเก่าประเภทรถยนต์ เพื่อแสดงรายการรถยนต์เก่าที่มีอยู่ ได้มา หรือ จำหน่ายไปแต่ละครั้ง ไม่ว่ารถยนต์นั้น ได้ซื้อมาขาย หรือขายแทนผู้อื่น และใช้เป็นเครื่องมือในการพิสูจน์รายได้จากการประกอบกิจการและควบคุมการมิให้มีการค้ารถยนต์เก่าโดยไม่สุจริต

(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนดให้ผู้ทำการค้าของเก่าประเภทรถยนต์มีบัญชีพิเศษ ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2523.)

 

5. บัญชีพิเศษสำหรับผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี เพื่อแสดงรายการผลิตหรือรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี และเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและตรวจสอบภาษีอากร และป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์การผลิตซีดี

(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เรื่อง กำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีมีบัญชีพิเศษ ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2546)

 

6. บัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน เป็นบัญชีการเงิน ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิซึ่งต้องจัดทำตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีเป็นปกติอยู่แล้ว เพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการประกอบกิจการ แต่ผู้ประกอบการต้องทำการปรับปรุงกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชีหรือทางการเงิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแนบบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนไปพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ด้วย

 

7. บัญชีรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและเข้ามาประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศในประเทศไทย และมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานรายได้จากการประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ โดยคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 3 ของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม หรือประโยชน์อื่น ที่เรียกเก็บในประเทศไทยเนื่องจากการขนส่งคนโดยสาร หรือร้อยละ 3 ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม หรือประโยชน์อื่นใด ที่เรียกเก็บไม่ว่าในประเทศไทยหรือต่างประเทศ เนื่องจากการขนส่งสินค้าออกจากประเทศไทย

 

8. รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำรายงานเป็นพิเศษเพื่อควบคุมการจัดเก็บและสอบยันกับแบบแสดงรายการที่ยื่นเสียภาษีเป็นหลักฐานทางทะเบียนรายละเอียดประกอบแบบแสดงรายการภาษี โดยต้องจัดทำเป็นรายสถานประกอบการ ซึ่งมีรายงานดังนี้

 

   • รายงานภาษีขาย เป็นรายงานแสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการและภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกใบกำกับภาษีจากการขายสินค้าหรือให้บริการนั้นๆ ทั้งนี้รายงานภาษีขายต้องมีรายการและข้อความตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 )

 

             รายงานภาษีขายของผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการจำหน่ายทองรูปพรรณ ที่ขอเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากส่วนต่างมีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานภาษีขายเป็นกรณีพิเศษด้วย โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามที่อธิบดีกำหนด

(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 104) เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานแตกต่างไปจาก รายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2543)

 

   • รายงานภาษีซื้อ เป็นรายงานแสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการและภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่น ทั้งนี้รายงานภาษีซื้อต้องมีรายการและข้อความตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 )

 

   • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้า และประกอบกิจการผลิตสินค้าเพื่อขาย ผู้ประกอบการผลิตสินค้าเพื่อขายนั้นต้องจัดทำทั้งรายงานวัตถุดิบ รายงานสินค้าสำเร็จรูป และรายงานสินค้าระหว่างผลิต (เฉพาะ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี) ซึ่งต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 )

 

             รายงานการจ่ายอะไหล่โดยไม่คิดมูลค่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขายสินค้าโดยมีการรับประกันสินค้าที่ขายหรือบริการซ่อมสินค้าที่ขาย กรณีมีการชำรุดบกพร่องหรือเพื่อเหตุอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ต้องจัดทำรายงานจ่ายอะไหล่โดยไม่คิดมูลค่าเพื่อใช้ประกันสินค้าที่ขายหรือบริการซ่อมสินค้าที่ขายแยกต่างหากจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

 

             บัญชีแสดงรายการสินค้าที่ครอบครอง

- ผู้ประกอบกิจการโรงเลื่อย โรงค้าไม้แปรรูป

- ผู้ประกอบกิจการค้าของเก่า

- ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร

- ผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียม

 

             แบบรายละเอียดสินค้าคงเหลือ สำหรับบุคคลธรรมดาผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ แต่ต้องทำการตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 31 ธันวาคม ของปี และกรอกรายการสินค้าคงเหลือในแบบรายละเอียดสินค้าคงเหลือ และให้ถือว่าแบบรายละเอียดสินค้าคงเหลือเป็นรายงานสินค้าและวัตถุดิบ สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการ โรงเลื่อย โรงค้าไม้แปรรูป กิจการค้าของเก่า ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร และกิจการปิโตรเลียม ให้ใช้บัญชีแสดงรายการสินค้าที่ครอบครองตามกฎหมายนั้นๆ เป็นรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 104) เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2543)

 

              การจัดทำรายงานรวมสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติให้จัดทำรายงานรวมกันกับสำนักงานใหญ่ กรณีที่เป็นผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งนอกจากมีสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่แล้ว ยังมีสถานประกอบการอื่นอีกหลายแห่งที่มีลักษณะเป็นรถเข็น แผงลอย หน่วยขายที่มีลักษณะเป็นร้านค้าย่อย หรือที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน และประกอบกิจการอยู่เป็นประจำในสถานที่เช่า สามารถจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ , รายงานสินค้าและวัตถุดิบ โดยจัดทำรวมกันกับสำนักงานใหญ่เพียงรายงานฉบับเดียว ซึ่งรวบรวมการขายสินค้าหรือการให้บริการซื้อสินค้าหรือการรับบริการและการรับหรือจ่ายสินค้าหรือวัตถุดิบของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ และสถานประกอบการแห่งอื่น โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และต้องเก็บรักษาไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่

(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 104 เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานแตกต่างไปจากรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2543)

 

9. รายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีหน้าที่จัดทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและรายรับที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยต้องจัดทำเป็นรายสถานประกอบการ ปัจจุบันไม่ได้กำหนดรูปแบบรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายให้ผู้ประกอบการปฏิบัติแต่อย่างใด

 

10. รายงานเงินสดรับ - จ่าย ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายเป็นประจำวัน เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรและเพื่อให้ผู้ประกอบการทราบถึงรายได้ รายจ่าย ผลกำไร ขาดทุน และใช้เป็นหลักฐานในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2549)

 

 

ตารางสรุปบัญชีพิเศษและรายงานตามประมวลรัษฎากร

กรณีผู้ประกอบการบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

 

            ผู้ประกอบการบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล อาจจะประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียงอย่างเดียว หรือต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ นอกเหนือจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทกิจการของผู้ประกอบการ สำหรับบัญชีพิเศษและรายงานที่ต้องจัดทำตามประมวลรัษฎากรกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และกรณีที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น สรุปได้ดังนี้

space

 

ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.  รายงานเงินสดรับ - จ่าย

2.  บัญชีแสดงสินค้าที่ครอบครอง กรณีเป็นผู้ประกอบ

     กิจการค้าของเก่า

3.  บัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง

4.  บัญชีพิเศษเฉพาะกิจการ

     -โรงสีขนาดเล็ก

     - กิจการสถานพยาบาลที่มีเตียงผู้ป่วยไว้ค้างคืน

     - กิจการค้าของเก่าประเภทรถยนต์

     - ผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี

5.  รายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ (กรณีจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ)

1.  รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม

     - รายงานภาษีขาย

     - รายงานภาษีซื้อ

     - รายละเอียดสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 30 มิถุนายน

        และวันที่31 ธันวาคม

     - บัญชีแสดงสินค้าที่ครอบครอง กรณีเป็นผู้ประกอบ

        กิจการโรงเลื่อย โรงค้าไม้แปรรูป กิจการค้าของเก่า

2.  บัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง

3.  บัญชีพิเศษเฉพาะกิจการ

     - กิจการค้าของเก่าประเภทรถยนต์

     - ผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี

4.  รายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ (กรณีจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ)

 

space

ตารางสรุปบัญชีพิเศษและรายงานตามประมวลรัษฎากร

กรณีผู้ประกอบการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล กิจการร่วมค้า มูลนิธิสมาคม หรือนิติบุคคลอื่น

 

           ผู้ประกอบการในรูปของห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล กิจการร่วมค้า มูลนิธิสมาคม หรือนิติบุคคลอื่นใด นั้น บัญชีพิเศษและรายงานที่ต้องจัดทำตามประมวลรัษฎากรกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และกรณีที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น สรุปได้ดังนี้

space

 

ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.  บัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน

2.  บัญชีแสดงสินค้าที่ครอบครอง กรณีเป็นผู้ประกอบ

     กิจการค้าของเก่า

3.  บัญชีพิเศษเฉพาะกิจการ

     -โรงสีขนาดเล็ก

     - กิจการสถานพยาบาลที่มีเตียงผู้ป่วยไว้ค้างคืน

     - กิจการค้าของเก่าประเภทรถยนต์

     - ผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี

4.  บัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง

5.  รายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ (กรณีจดทะเบียนภาษี

     ธุรกิจเฉพาะ)

 

 

 

 

 

 

 

1.  รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม

       - รายงานภาษีขาย

       - รายงานภาษีซื้อ

       - รายงานสินค้าและวัตถุดิบ

     - รายงานการจ่ายอะไหล่โดยไม่คิดมูลค่า

          (สำหรับสินค้าที่มีประกัน)

      - บัญชีแสดงสินค้าที่ครอบครอง กรณีเป็น

         ผู้ประกอบ กิจการโรงเลื่อย โรงค้าไม้แปรรูป

         กิจการค้าของเก่าผู้ประกอบการที่ได้รับให้อนุมัติ

         ให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้า

         ปลอดอากร และกิจการปิโตรเลียม

2.  บัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน

3.  บัญชีพิเศษเฉพาะกิจการ

     - กิจการค้าของเก่าประเภทรถยนต์

     - ผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี

4.  บัญชีรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ (เฉพาะนิติบุคคล

     ต่างประเทศที่เข้ามาประกอบกิจการขนส่งระหว่าง

     ประเทศในประเทศไทย)

5.  บัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง

6.  รายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ (กรณีจดทะเบียนภาษี

     ธุรกิจเฉพาะ)

 

http://www.rd.go.th

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view