http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,990,640
เปิดเพจ7,845,440

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

ขั้นตอนการเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ขั้นตอนการเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 
 
ก่อนที่จะพูดถึงขั้นตอนการเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ก่อนอื่น ต้องถามน้องๆก่อนว่า น้องๆเคยได้ยินคำว่า ?ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต? มาก่อนไหมคะ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต คืออะไร น้องๆหลายคนที่กำลังเรียนทางด้านบัญชี รวมถึงน้องๆอีกหลายคนที่กำลังคิดจะเข้ามาเรียนในสายวิชาชีพบัญชี อาจจะเคยได้ยินคำว่า ?ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต? มาบ้างแล้ว นิติบุคคลต่างๆ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน เมื่อมีการจัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคล ก็ต้องมีหน้าที่จัดทำงบการเงิน เพื่อนำส่งต่อหน่วยงานต่างๆที่ทำหน้าที่กำกับดูแล เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น หรือหากกิจการเหล่านั้น ต้องการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อขยายกิจการ สถาบันการเงินจะขอดูงบการเงินของกิจการเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะให้กิจการนั้นกู้ยืมหรือไม่ ซึ่งงบการเงินที่กิจการทำขึ้นมานั้น อาจไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากกิจการทำขึ้นเอง ดังนั้น เพื่อให้งบการเงินของกิจการน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น จึงให้บุคคลภายนอกกิจการที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านบัญชีเข้ามาตรวจสอบงบการเงินของกิจการเพื่อแสดงความเห็นต่อความถูกต้องของงบการเงินนั้น บุคคลภายนอกในที่นี้ ก็คือ ผู้สอบ-บัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant : CPA) นั่นเอง หน่วยงานที่กำกับดูแลผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในปัจจุบัน คือ สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ แต่หากเป็นกิจการขนาดเล็ก คือ เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท อาจไม่ต้องให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินก็ได้ แต่ให้ผู้สอบ-บัญชีภาษีอากรซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ตรวจสอบแทนได้ ? เอาล่ะ ตอนนี้เราพอจะรู้คร่าวๆแล้วว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต คืออะไรแล้ว สำหรับน้องๆที่สนใจอยากเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แต่ไม่รู้ว่าต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เชิญทางนี้ค่ะ ขั้นแรก ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ขั้นที่สอง ฝึกหัดงานสอบบัญชี ขั้นที่สาม ทดสอบความรู้ ขั้นที่สี่ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ? ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต? ก่อนอื่น มาตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตกันก่อนนะคะ เพื่อเตรียมความพร้อมของพวกเรากันก่อนค่ะ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติว่ามีอะไรบ้างต้องไปดูที่ พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มาตรา 39 ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของผู้สอบบัญชี-รับอนุญาตต้องไปดูที่ ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ 7) เรื่อง การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ข้อที่ 8 รวมถึงผู้ที่จะสามารถเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้นั้น แน่นอนว่าจะต้องเรียนทางด้านบัญชี ซึ่งเป็นการเรียนในระดับไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่สภาวิชาชีพบัญชีให้การรับรองซึ่งข้อมูลส่วนนี้สามารถหาได้จาก ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 5/2548 เรื่อง เกณฑ์การพิจารณารับรองคุณวุฒิการศึกษาปริญญาทางการบัญชีและประกาศนียบัตรทางการบัญชีและรายชื่อปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาการบัญชีของสถาบันการศึกษา เพื่อประโยชน์ในการรับสมัครเป็นสมาชิกสามัญของสภาวิชาชีพบัญชี?? ฝึกหัดงานสอบบัญชี? หลังจากที่ตรวจสอบดูแล้วว่าเรามีคุณสมบัติครบถ้วนไม่มีลักษณะต้องห้าม รวมถึงมีวุฒิการศึกษาตามที่กำหนดแล้ว ขั้นต่อไปก็คือจะต้องไปฝึกหัดงานสอบบัญชีกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาต การฝึกหัดงาน สอบบัญชีนี้ไม่จำเป็นจะต้องรอให้เรียนจบปริญญาตรีทางบัญชีก็ได้ ระหว่างที่เป็นนักศึกษาปริญญาตรีอยู่ก็สามารถไปฝึกหัดงานได้ แต่ต้องสอบผ่านวิชาบัญชีมาแล้วอย่างน้อย 4 วิชา และวิชาสอบบัญชีอย่างน้อย 1 วิชา รวมทุกวิชาแล้วไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต จึงจะสามารถเริ่มนับชั่วโมงฝึกงานได้ โดยการฝึกหัดงานจะต้องฝึกต่อเนื่องกันอย่างน้อย 3 ปี และมีจำนวนชั่วโมงรวมกันไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง และจะต้องมีการยื่นเอกสารหลักฐานแจ้งการฝึกหัดงานนี้ให้แก่สภาวิชาชีพบัญชี ดังนี้ แจ้งการฝึกหัดงาน แจ้งก่อนเริ่มการฝึกหัดงาน โดยใช้เอกสารดังนี้?- แบบ ผส.1?- สำเนาปริญญาบัตร และ ใบรับรองผลการศึกษาพร้อมต้นฉบับ?- สำเนาบัตรประชาชน?- สำเนาทะเบียนบ้าน รายงานการฝึกหัดงาน แจ้งปีละหนึ่งครั้ง นับตั้งแต่วันแจ้งการฝึกหัดงาน โดยใช้เอกสารดังนี้ - แบบ ผส.2 - เลขที่คำขอแจ้งการฝึกหัดงาน - หนังสือยืนยันจากนิติบุคคลที่เราไปตรวจสอบ สิ้นสุดการฝึกหัดงาน แจ้งเมื่อฝึกงานครบตามที่กำหนดแล้ว โดยใช้เอกสารดังนี้ - แบบ ผส.3 - เลขที่คำขอแจ้งการฝึกหัดงาน - หนังสือยืนยันจากนิติบุคคลที่เราไปตรวจสอบ กรณีที่มีการเปลี่ยนผู้ให้การฝึกหัดงาน แจ้งภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง?ผู้ให้การฝึกงาน โดยใช้เอกสารดังนี้ ?- แบบ ผส.2 และ แบบ ผส.3 สำหรับผู้ให้การฝึกงานเดิม ?- แบบ ผส.4 สำหรับผู้ให้การฝึกงานใหม่ - เลขที่คำขอแจ้งการฝึกหัดงาน - หนังสือยืนยันจากนิติบุคคลที่เราไปตรวจสอบ ทดสอบความรู้ เมื่อเรียนจบปริญญาตรีด้านบัญชีจากสถาบันการศึกษาที่สภาวิชาชีพบัญชีให้การรับรอง โดยสอบผ่านวิชาบัญชีตามที่กำหนด 8 รายวิชา ดังต่อไปนี้ การบัญชีขั้นต้น และบัญชีขั้นกลาง 3 รายวิชา? การบัญชีขั้นสูง 2 รายวิชา การบัญชีต้นทุน 1 รายวิชา การสอบบัญชี 1 รายวิชา การภาษีอากร 1 รายวิชา รวม 8 รายวิชา และยื่นคำขอแจ้งการฝึกหัดงานแล้ว น้องๆก็สามารถจะสมัครทดสอบความรู้ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ฝึกงานครบ 3 ปี 3,000 ชั่วโมงก่อน ปัจจุบันวิชาที่ต้องทดสอบมีทั้งหมด 6 วิชาด้วยกัน คือ ? - วิชาการบัญชี 1 - วิชาการบัญชี 2 - วิชาการสอบบัญชี 1 - วิชาการสอบบัญชี 2 - วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี และ - วิชาการสอบบัญชีที่ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเลือกได้ว่าสมัครสอบครบทุกวิชา หรือเลือกเพียงบางวิชาก็ได้ ถ้าสอบได้คะแนนตั้งแต่ 60% ขึ้นไปจึงจะถือว่าสอบผ่านวิชานั้นและสามารถเก็บสะสมวิชาที่สอบผ่านได้ 3 ปีนับตั้งแต่วันที่ผ่านการทดสอบ โดยในปี 2551 สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดให้มีการสอบทั้งหมด 3 ครั้ง ในช่วงเดือน มีนาคม กรกฎาคม และ ปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ค่าธรรมเนียมการสอบวิชาละ 500 บาท โดยมีหลักฐานการสมัครสอบ ดังนี้ - แบบ ก.บช. 9 - บัตรประจำตัวผู้เข้าทดสอบ - รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ? กรณีที่เข้าทดสอบครั้งแรกต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม คือ - เลขที่คำขอแจ้งการฝึกหัดงาน - สำเนาปริญญาบัตร และ Transcript พร้อมต้นฉบับ - สำเนาบัตรประชาชน - สำเนาทะเบียนบ้าน ขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เมื่อน้องๆสอบผ่านครบทุกวิชาแล้ว สภาวิชาชีพบัญชีจะส่งจดหมายแจ้งให้ไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต น้องๆก็ต้องไปยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตโดยใช้เอกสารดังนี้ - แบบ ก.บช. 1 - รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน - หนังสือรับรองความประพฤติจากสถานที่ทำงานปัจจุบัน - บัตรประจำตัวสอบ - สำเนาบัตรประชาชน - สำเนาทะเบียนบ้าน หลังจากที่น้องๆ ไปยื่นคำขอขึ้นทะเบียนแล้ว สภาวิชาชีพบัญชีจะพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนของน้องๆ ต่อจากนั้นจะส่งหนังสือแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต จำนวน 1,000 บาท และถ้าน้องๆไม่อยากเสียเวลาเดินทางไปรับใบอนุญาตที่สภาวิชาชีพบัญชีด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่งก็สามารถขอให้จัดส่งใบอนุญาตทางไปรษณีย์ โดยต้องเสียค่าจัดส่งเพิ่มอีก 30 บาท เท่านี้ น้องๆก็จะได้รับใบอนุญาตส่งตรงไปให้ถึงที่บ้านของน้องๆได้เลยค่ะ ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ ก็เป็นเพียงสรุปขั้นตอนในการเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแบบคร่าวๆนะคะ ถ้าน้องๆ สนใจรายละเอียดตรงส่วนไหนเพิ่มเติม สามารถศึกษาดูได้จาก Website ของสภาวิชาชีพบัญชีที่

อ.รวิชุดา บรรจงมณี
อาจารย์ประจำคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
http://www.fap.or.th ค่ะ

 

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view