http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,993,223
เปิดเพจ7,848,525

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต เก็บภาษีอย่างไร

ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต เก็บภาษีอย่างไร

ภาษีเป็นของคู่กับการค้า ไม่เว้นแม้แต่การค้าทางอินเทอร์เน็ต ในฉบับนี้เราจะมาคุยกันว่ารัฐบาลไทย มีกฎ กติกา มรรยาท ว่าด้วยการเก็บภาษีอย่างไร ทั้งด้านการขาย และการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

หัวใจสำคัญในการพิจารณาเรื่องภาษ ีคือการดูว่าสินค้าที่เกี่ยวข้องนั้น เป็นสินค้า หรือ บริการ เพราะสรรพากรไทย มีระบบจัดเก็บภาษีแตกต่างกัน ตามคุณลักษณะนี้ สินค้าที่จัดว่าเป็นสินค้านั้น ก็ได้แก่สิ่งของที่จับต้องได้ตามปกติ ซึ่งคนไทยเรา คุ้นเคยอยู่แล้ว การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของสินค้าประเภทนี้  จัดเป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทางอ้อม กล่าวคือ แม้การซื้อขาย    จะกระทำผ่านอินเทอร์เน็ต แต่การจัดส่งสินค้า ก็ยังคงผ่านช่องทางปกติ เช่นใช้บริการไปรษณีย์ หรือ บริษัทขนส่งเอกชน ในการจัดส่งสินค้า ส่วนสินค้าประเภทใหม่ ที่เราอาจเรียกว่าเป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้นั้น จัดเป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทางตรง การซื้อขาย และจัดส่งสินค้า ล้วนกระทำผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งหมด สินค้าในลักษณะนี้ได้แก่ ไฟล์ข้อมูลต่างๆ เช่น เพลงในรูปแบบ MP3 ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ หรือเอกสารข้อมูล ที่เก็บในรูปอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเหล่านี้ กรมสรรพากรตีความว่าเป็นบริการ

ในการขายสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้น หากเป็นการขาย ให้แก่ผู้ซื้อที่อยู่ในประเทศผู้ขาย ที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ตามปกติ แต่หากเป็นการส่งออก กรมสรรพากร ท่านสนับสนุนพ่อค้าไทย โดยให้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราศูนย์ เพื่อให้สินค้าไทย สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ แต่ทั้งนี้เฉพาะสินค้า ที่จับต้องได้เท่านั้น ส่วนสินค้าที่จับต้องไม่ได้นั้น  ถือเป็นบริการ แม้จะเป็นการส่งออก ก็ยังต้องเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อยู่ ยกเว้นแต่ว่า ผู้ซื้อมีจดหมายยืนยันมาว่า ซื้อบริการ (สินค้าที่จับต้องไม่ได้) นั้นไปใช้ในต่างประเทศจริง ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ ในการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต ที่ผู้ซื้อจะยอมวุ่นวายส่งเอกสารมาให้เรา ดังนั้นประเด็นนี้ทางสรรพากรไทย คงต้องมีการพิจารณาทบทวน ให้ทันกับกระแสพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่การค้ามีแนวโน้มจะเป็น สินค้าที่จับต้องไม่ได้มากขึ้น สำหรับภาษีศุลกากรขาออกนั้น ไม่มีการเรียกเก็บ ยกเว้น หนังดิบ แต่ภาษีศุลกากรขาเข้า  ก็เป็นเรื่องราวของแต่ละประเทศ ที่ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระกันเอง ดังนั้นหากเราเปิดร้านขายของ โดยมีลูกค้าอยู่ต่างประเทศ จะต้องระบ ุความรับผิดชอบด้านภาษีนำเข้าว่า เป็นภาระของลูกค้าเองด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องทะเลาะกันวันหลัง

ส่วนการสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต จากต่างประเทศนั้น ตามกฎหมายแล้ว มีภาษีที่เกี่ยวข้อง 3 ชนิด คือภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เช่นคนไทยส่วนใหญ่ ที่ขณะนี้นิยมสั่งหนังสือผ่าน amazon.com ซึ่งเป็นร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในสหรัฐอเมริกา ในกรณีนี้ เป็นการสั่งหนังสือตำราจากต่างประเทศ ทางกรมศุลกากร ให้การยกเว้นไม่เสียภาษีนำเข้า ส่วนสินค้าอย่างอื่น เช่นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ก็โดนภาษีศุลกากรกันไปตามปกติ แม้ว่าผู้ซื้อหนังสือจาก amazon.com จะไม่เสียภาษีศุลกากรก็ตาม โดยหลักการแล้ว ผู้ซื้อสินค้า ยังมีภาระต้องรับผิดชอบภาษีมูลค่าเพิ่มอยู ่เช่นเดียวกับการซื้อสินค้าภายในประเทศ ซึ่งปกติแล้ว ร้านค้ามีหน้าที่ต้องเรียกเก็บ VAT 7% จากผู้ซื้อ แต่เมื่อเราสั่งของ ทางอินเทอร์เน็ตจากผู้ขายต่างประเทศ เขาไม่สนกฎระเบียบของเราอยู่แล้ว และไม่ถือเป็นหน้าที่ที่จะไปเรียกเก็บ VAT จากลูกค้ามาให้รัฐบาลไทยด้วย ดังนั้นจึงกลายเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อเอง ที่ต้องไปแจ้งกับสำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน โดยนำหลักฐานการสั่งซื้อสินค้า หรือใบนำส่งไปให้เจ้าหน้าที่เขาแปลงเป็นเงินบาท แล้วเขาจะคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากยอดนั้นเพื่อเก็บจากเรา เมื่อจ่ายเงินให้เขาไปแล้ว ก็จะได้รับเอกสาร ภพ.36 เพื่อยืนยันการชำระเงิน และสามารถใช้ ภพ.36 นี้แทนใบกำกับภาษีซื้อได้

ในฐานะคนทั่วไป คงไม่มีใครหาเรื่องยุ่งยาก ให้กับชีวิตโดยไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้รัฐบาลไทยแน่ แต่ถ้าเราเป็นบริษัทห้างร้าน  ที่ต้องการใบรับรองค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ก็มีแรงจูงใจที่จะไปแจ้งกรมสรรพากรเพื่อออก ภพ.36 ให้ เพราะภาษีซื้อนี้ ก็สามารถนำไปหักจากภาษีขายได้ตามปกติ และเราก็มีหลักฐานแสดงการจ่ายเงินซื้อสินค้านั้นด้วย

มีเรื่องน่าคิดต่อไปอีกว่า ถ้าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งได้แก่ ข้อมูล โปรแกรม หรือ เพลง ที่เก็บอยู่ในรูปไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อผู้ซื้อชำระเงินโดยบัตรเครดิตแล้ว จะได้รับสินค้าเหล่านี้ โดยส่งมาทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเลย สินค้าประเภทนี้ สหรัฐอเมริกาชี้นำในเวที WTO ที่เจนีวา ใน พศ. 2541 ให้ประเทศสมาชิกยอมรับ ให้เป็นสินค้าปลอดภาษีศุลกากร โดยใช้คำว่า No New Tax นั่นตีความได้ว่าห้ามประเทศต่างๆ ไปคิดวิธีการเก็บภาษีใหม่ๆ มาจัดการกับสินค้าพวกนี้ ซึ่งทำให้ ความพยายามของกลุ่มยุโรป ที่จะเสนอวิธีการจัดเก็บภาษีประเภท Bit Tax (เป็นภาษีที่ คิดตามจำนวนข้อมูลที่ส่ง โดยไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของข้อมูลนั้น) ต่อสินค้าเหล่านี้ต้องตกไป สินค้าที่จับต้องไม่ได้นี้ ในหลายประเทศ (รวมทั้งกรมสรรพากรไทย) ตีความว่าเป็นบริการ ดังนั้นจึงไม่ได้มีการระบุพิกัดภาษีศุลกากร  ตามระบบฮาร์โมไนซ์ไว้ก่อน ทำให้กรมศุลกากร ไม่สามารถจัดเก็บภาษีศุลกากรได้ และไม่สามารถไปคิดวิธีใหม่มาเก็บได้ด้วย เพราะอเมริกาได้ตีกันไว้แล้ว หรืออยากจะเก็บจริงๆ ก็ไม่รู้จะเก็บอย่างไรเหมือนกัน เพราะสินค้าเหล่านี้ไม่ได้ผ่านกระบวนการขนส่งตามปกติ แต่วิ่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ซื้อเลย

ในกรณีนี้มีข้อควรพิจารณา ดังนี้

ธุรกรรมลักษณะนี้ ผู้ซื้อมักจะไม่ได้รับเอกสาร ที่เป็นกระดาษจากผู้ขายเลย การติดต่อจะกระทำผ่าน ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่สามารถพิมพ์ขึ้นมา และพิสูจน์ได้ว่านี่เป็นเอกสารของจริงจากผู้ขาย ดังนั้นแม้ผู้ประกอบการไทย ที่สุจริตจะพิมพ์ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ไปแจ้งกรมสรรพากรเพื่อขอ ภพ.36 กรมสรรพากร จะทราบว่าเป็นของจริงได้อย่างไร เพราะถ้าไม่มีวิธีตรวจสอบได้ อาจมีผู้ประกอบการไทย ที่ไม่สุจริตทำเอกสารปลอมขึ้นมา โดยยอมจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% (ซึ่งในที่สุดก็ได้คืน ผ่านการหักจากภาษีขาย) เพื่อทำค่าใช้จ่ายปลอม ในการส่งบัญชีภาษีเงินได้นิติบุคคล

เนื่องจากกรมสรรพากรไทย ตีความให้สินค้าที่จับต้องไม่ได้เป็นบริการ ผู้ซื้อจึงมีหน้าที่ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากการซื้อสินค้าเหล่านี้ ด้วยตามมาตรา 70 ทวิ ซึ่งนี่เป็น Old Tax ของเราอยู่แล้ว จึงไม่ขัดกับข้อตกลงที่เจนีวา ในกรณี ผู้ขายซอฟท์แวร์ในสหรัฐอเมริกา   ซึ่งมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับไทยนั้น ให้เราหัก 5% จากผู้ขายเพื่อส่งให้รัฐบาลไทย โดยผู้ซื้อออกใบหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ผู้ขาย  เพื่อนำไปเครดิตภาษีจากรัฐบาลของเขาได้ เช่น หากเราสั่งซื้อโปรแกรม โดยดาวน์โลดไฟล์ทางอินเทอร์เน็ต และผู้ขายคิดราคาสินค้า 100 เหรียญ มาตรา 70 ทวิ บอกว่าให้เราจ่ายเขา 95 เหรียญพอ และหัก 5 เหรียญมาส่งให้กรมสรรพากร

ในทางปฏิบัติแล้ว ยังไม่เคยพบเวบไซท์ไหน ที่ยอมให้เราไปหักเงินเขาได้ ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทย ต้องการจ่ายภาษีให้ครบถ้วน เพื่อออก ภพ.36 ก็ต้องจำใจควักกระเป๋าอีก 5% เพื่อส่งให้สรรพากร โดยทำทีเสมือนว่า  ได้หักจากผู้ขายมาแล้ว

การซื้อขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต  ยังคงเป็นเรื่องใหม่ ทั้งกับพ่อค้าและรัฐบาล จึงควรที่รัฐบาลจะใช้วิธีการรอมชอม และร่วมศึกษาแก้ไขกฎระเบียบร่วมกันกับพ่อค้า เพื่อปรับรูปแบบ ให้เหมาะสมกับวิถีการค้าแนวใหม่ ทั้งนี้ เพื่อผลประโยชน์ของชาติในระยะยาวนั่นเอง

ที่มา :  http://www.dst.co.th
 

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view