http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,990,386
เปิดเพจ7,845,142

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

    กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ


          1.  กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย  ธนาคารออมสิน  ธนาคารอาคารสงเคราะห์  และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
          2.  กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
          3.  กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์ เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น
          4.  กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
          5.  กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการขายหรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
          6.  กิจการรับจำนำของกระทรวง  ทบวง  กรม  และราชการส่วนท้องถิ่น
          7.  กิจการขายหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์
          8.  กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
          9.  กิจการของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
        10.  กิจการของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
        11.  กิจการของกองทุนสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
        12.  กิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
        13.  กิจการของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
        14.  กิจการของนิติบุคคลเฉพาะกิจในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เฉพาะกรณี  ดังต่อไปนี้
              (1) กิจการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการรับโอนทรัพย์สินจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น หรือการโอนทรัพย์สินดังกล่าวคืนให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น
              (2) กิจการที่ได้รับโอนมาจากผู้โอนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/3 แห่งประมวลรัษฎากร 
         15. กิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ เฉพาะที่เกิดขึ้นเนื่องจากการโอนทรัพย์สินให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือการรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนจากนิติบุคคลเฉพาะกิจ
         16.  กิจการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์  กองทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบัน
การเงิน  และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์  และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
         17. กิจการของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
         18.  กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการให้กู้ยืมเงินตามโครงการพัฒนาคนจนในเมือง
         19.  กิจการของสหกรณ์ประเภทสหกรณ์บริการ ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่สมาชิก เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ 
                (1) ต้องเป็นสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกของโครงการพัฒนาคนจนในเมืองของการเคหะแห่งชาติ และได้รับเงินกู้ตามโครงการดังกล่าว
                (2) ต้องนำเงินที่ได้รับไปจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อขายต่อให้แก่สมาชิกของสหกรณ์นั้น
         20. กิจการของสถาบันการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ เฉพาะกรณีที่
                (1) สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมด ที่มีสิทธิออกเสียงหรือในกรณีที่สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินนั้นไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง จะต้องมีนิติบุคคลรายหนึ่งถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินนั้น เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
                (2) เป็นรายรับที่ได้จากบริษัทบริหารสินทรัพย์ เนื่องจากการให้สินเชื่อแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์    เพื่อรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินนั้น หรือสถาบันการเงินอื่นที่มีสถาบันการเงินนั้นถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ  50  ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงหรือการให้สินเชื่อแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อใช้ในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงินนั้น  หรือสถาบันการเงินอื่นที่มีสถาบันการเงินนั้นถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
         21. กิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไรเนื่องจาก
               (1) การรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากหรือการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากโดยการวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนดได้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
               (2) การขายอสังหาริทรัพย์ภายหลังที่ได้ไถ่จากการขายฝากซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาการได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์ก่อนการขายฝาก  ระยะเวลาระหว่างการขายฝากและระยะเวลาภายหลังจากการขายฝากแล้วเกินห้าปี
         22. กิจการของรัฐวิสาหกิจในส่วนของรายรับที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ อันเนื่องมาจากการนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ
         23. กิจการของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
         24. กิจการของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
         25. กิจการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเอกชน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
         26. กิจการของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่กฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีผลใช้บังคับ
         27. กิจการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
         28. กิจการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
         29. กิจการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับโอนเนื่องจากการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
         30. กิจการของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
         31. กิจการขายข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
         32. กิจการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่เปิดทำการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นเป็นต้นไป
         33. การโอนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเกิดจากการแยกกิจการประกันชีวิตและกิจการประกันวินาศภัยออกจากกัน ตามมาตรา 127 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 หรือตามมาตรา 121 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535
         34. การขายอสังหาริมทรัพย์ขององค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทจำกัดที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2540 ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการบริหาร สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์โดยความเห็นชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย 
         35. การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบกิจการให้แก่องค์การฯ หรือบริษัทจำกัดตาม 34.


กรณีอื่น ๆ ที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ


           1. การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่วัด (ตามมาตรา 5 บัณรส แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 10)
           2. การโอนอสังหาริมทรัพย์อันเนื่องมาจากที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัด
ควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน (ตามมาตรา 5 โสฬส  แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 10)
           3. การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมฯ (ตามมาตรา 5 เอกวีสติ แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 10)
           4. รายรับของสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  (ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 291)
           5. ค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับ
จากส่วนราชการฯ  (ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 295)
           6. การโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามคำขอประนอมหนี้ หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ (ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 340)
           7. การขายอสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (ตามมาตรา 4(6)(ก) ถึง (ช) แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 342)
           8. การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ  (ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 378)
           9. รายรับเฉพาะที่เป็นกำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ  (ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 388)
         10. ผู้ขายหลักทรัพย์ในกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 392)
         11. การโอนทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการดำเนินการสนับสนุนการศึกษา ตามโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ (ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 420)
         12. การโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ตามมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 427)
         13. การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่สภากาชาดไทย (ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 447)
         14. รายรับจากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ เฉพาะส่วนที่เป็นรายรับตามมาตรา 91/5(1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับ (ตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 454)


หมายเหตุ 


              กรณีประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ กรมสรรพากรวางแนวทางปฏิบัติ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.26/2534 กำหนดให้รายรับกรณีดอกเบี้ยสำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ดังนี้
                (1) กรณีบริษัทในเครือเดียวให้กู้ยืมเงินกันเอง ไม่ว่าจะนำเงินของตนหรือนำเงินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่นมาให้กู้ยืมในระหว่างกันเอง และไม่ว่าจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็ตาม ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินในกรณีเช่นนี้ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
                           คำว่า  "บริษัทในเครือเดียวกัน"  หมายความว่า  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตั้งแต่สอง นิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กัน โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม
                (2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำเงินทุน  เงินกู้ยืม  เงินเพิ่มทุน  หรือเงินอื่นที่เหลืออยู่ไปฝากธนาคารหรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น     โดยได้รับดอกเบี้ยตามอัตราปกติกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ก็ตาม
                          ความใน  (1)   และ  (2)   ไม่รวมถึงการประกอบกิจการธนาคาร  กิจการธุรกิจเงินทุนธุรกิจ หลักทรัพย์  ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และการรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
                  (3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงาน  หรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นำเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ โดยคิดดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ให้กู้นั้นตามสมควร ไม่ต้องนำดอกเบี้ยนั้นมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ


 
 

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view