http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,979,985
เปิดเพจ7,830,376

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

การบัญชีต้นทุน

การบัญชีต้นทุน

การบัญชีต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีของกิจการ การบัญชีต้นทุนเป็นการบันทึกการวัดผลและการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับ ต้นทุน แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ

  1. ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ(Job Order Cost System)
    เป็นการคิดต้นทุนของงานแต่ละงาน ทำให้ทราบต้นทุนทั้งหมดของงานนั้นๆ จึงมีประโยชน์ในการตั้งราคาขายเป็นสำคัญ
  2. ระบบบัญชีต้นทุนช่วง(Process Cost System)
    คิดต้นทุนของงานในแต่ละแผนก หรือเป็นช่วงๆของงาน ดังนั้นจะต้องมีการโอนย้ายต้นทุนระหว่างแผนก ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ในการควบคุมต้นทุนและการประเมินผลงาน

การจัดแบ่งประเภทต้นทุน

  1. การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามหน้าที่การผลิต
    สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ วัตถุทางตรง (Direct Materials) หมายถึง วัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสินค้าสำเร็จรูป ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labour) หมายถึง แรงงานที่ใช้โดยตรงในการแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปและ ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead) หมายถึง ต้นทุนในการผลิตทั้งหมดยกเว้นวัตถุทางตรงและค่าแรงงาน ทางตรง
  2. การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามพฤติกรรมต้นทุน
    โดยพิจารณาว่าต้นทุนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรมหรือหน่วยผลิตหรือไม่ ซึ่งจะแบ่งเป็น
    • ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) ต้นทุนชนิดนี้เป็นต้นทุนต่อหน่วยจะมีค่าเท่าเดิม แต่ต้นทุนรวมจะเปลี่ยนแปลงตาม จำนวนการผลิต
    • ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) เช่น เงินเดือนผู้จัดการ ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น ซึ่งต้นทุนต่อหน่วยจะเปลี่ยนแปลงไปตาม จำนวนการผลิต ยิ่งผลิตมากต้นทุนต่อหน่วยยิ่งน้อย ในขณะที่ต้นทุนรวมจะคงที่เสมอ
    • ต้นทุนกึ่งผันแปร (Semi Variable Cost) เป็นการเพิ่มขึ้นของต้นทุนผันแปรในอัตราของการเพิ่มที่ไม่คงที่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ต้นทุนผสม (Mixed Cost) และ ต้นทุนขั้น (Step Cost)
  3. การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามความสัมพันธ์ของต้นทุนกับเหตุแห่งต้นทุน โดยพิจารณาที่ความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ แบ่งได้เป็น
    • ต้นทุนทางตรง (Direct Cost) หมายถึง ต้นทุนที่ใช้ในการก่อให้เกิดกิจกรรมนั้นๆ โดยตรง หรือระบุให้ชัดเจนว่า เป็นของผลิตภัณฑ์นั้น
    • ต้นทุนทางอ้อม (Indirect Cost) หมายถึง ต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถคิดเข้าโดยตรงกับผลิตภัณฑ์ หรือกับแผนกนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน เพราะมีการใช้ร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีเกณฑ์ในการปันส่วน
  4. การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามงวดเวลาที่ก่อประโยชน์ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
    • ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Product Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์โดยตรง เป็นต้นทุนที่ก่อ ประโยชน์ในอนาคต ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยเรียกชื่อตามสถานะของ ผลิตภัณฑ์ ถ้าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จแต่ยังไม่ขาย เรียกว่า สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตไม่เสร็จ เรียกว่า สินค้าระหว่างผลิตหรืองานระหว่างทำ
    • ต้นทุนงวดเวลา (Period cost) เป็นต้นทุนที่เกิดประโยชน์ในปัจจุบัน โดยแบ่งย่อยเป็น ต้นทุนขาย และค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงาน

ที่มา : สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์ , ภาวนา สายชู (MBA HANDBOOK)


Tags : การบัญชีต้นทุน

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view