http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,989,447
เปิดเพจ7,844,091

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

ใครและเงินได้ประเภทใดที่จะต้องยื่นแบบฯ ภาษีครึ่งปี

ครและเงินได้ประเภทใดที่จะต้องยื่นแบบฯ ภาษีครึ่งปี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ครึ่งปีได้แก่ บุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตาย กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งมีเงินได้ พึงประเมินเฉพาะประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้

(1) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินและการผิดสัญญา ซื้อขายเงินผ่อนฯ ตามมาตรา 40(5) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้าง เงินค่าซ่อมแซม ค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ เงิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่า ทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) แห่งประมวลรัษฎากร

(2) เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ3 ซึ่งได้แก่ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี และ ประณีตศิลปกรรม ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) นี้ เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระ (Liberal Professions) ซึ่งมีลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ โดยผู้ว่าจ้างประสงค์ถึงผลของงานเป็นใหญ่ ไม่ใช่มุ่งถึงแรงงาน และจะต้องเป็นงานที่ผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวดำเนินการเองโดยอิสระและรับผิดชอบเป็นส่วนตัวโดยตรงกับงานที่รับจ้างนั้น เนื่องจากเงินได้จากวิชาชีพอิสระบางประเภทอาจมีปัญหาคล้ายคลึงหรือสับสนกับเงินได้ประเภทอื่นๆ จึงขอนำมาอธิบายแยกเป็นรายประเภทที่สำคัญ

1. วิชากฎหมาย (Laws) หมายถึงการ ให้บริการว่าความและให้คำปรึกษาทางกฎหมายของทนายความซึ่งอยู่ในความควบคุมของ สภาทนายความแห่งประเทศไทย

ข้อสังเกต หากบุคคลที่ประกอบวิชาชีพทางด้านกฎหมายดังกล่าวรับจ้างทำกิจการอื่นด้วย เงินได้อื่นไม่ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น การรับจ้างติดตามลูกหนี้ การรับจ้างติดตามหาตัวบุคคล การรับติดต่อกับส่วนราชการ รับจดทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รับยื่นแบบแสดงรายการภาษี รับแปลเอกสาร รับสำรวจทรัพย์สิน เป็นต้น

2. การประกอบโรคศิลปะ (Art of Healing) หมายถึงการให้บริการการประกอบโรคศิลปะของแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร ฯลฯ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของแพทยสภาแห่ง ประเทศไทย ฯลฯ

การประกอบโรคศิลปะ หมายความถึง การประกอบกิจการตามคำนิยาม "โรคศิลปะ" ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479
4

3. วิศวกรรม (Engineering) หมายถึง การให้บริการทางวิศวกรรมของวิศวกร ซึ่งอยู่ในความควบคุมของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เช่น การออกแบบทางวิศวกรรม การรับรองโครงสร้างทางวิศวกรรม ฯลฯ5

4. สถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึงการให้บริการทางสถาปัตยกรรมของสถาปนิก ซึ่งอยู่ในความควบคุมของคณะกรรมการควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม เช่น การออกแบบอาคารบ้านเรือน สะพาน ภูมิสถาปัตย์ ฯลฯ

5. การบัญชี (Accountancy) ประกอบด้วย

(1) การให้บริการการสอบบัญชีของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งอยู่ในความควบคุมของคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี

(2) การให้บริการการทำบัญชีของผู้รับจ้างทำบัญชีอย่างอิสระ ซึ่งมิได้มีความผูกพันกับเจ้าของกิจการอย่างนายจ้างลูกจ้าง

6. ประณีตศิลปกรรม (Fine Arts) ประกอบด้วยปฎิมากรรม จิตรกรรม

7. วิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งยังไม่มีพระราช-กฤษฎีกากำหนดชนิดของวิชาชีพอื่นใดในขณะนี้

ข้อสังเกต กรณีการประกอบวิชาชีพอิสระที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(6) แม้บุคคลที่ประกอบวิชาชีพ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องมีใบอนุญาต เช่น สถาปนิก หากว่าใบอนุญาตหมดอายุ แต่ก็ยังคงประกอบวิชาชีพดังกล่าวต่อไป เงินที่ได้รับจากการประกอบวิชาชีพดังกล่าว ก็ยังคงถือว่าเป็นเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(6)6

(3) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ ตามมาตรา 40(7) แห่งประมวลรัษฎากร

เงินได้ประเภทนี้มีลักษณะเป็นค่าจ้างทำของตามสัญญาจ้างทำของซึ่งจะจ่ายโดยมุ่งผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ และผู้รับเหมาต้องเป็นผู้จัดหาสัมภาระมาเองเป็นส่วนใหญ่นอกเหนือจาก เครื่องไม้เครื่องมือในการประกอบอาชีพปกติไม่ใช่รับเหมาเฉพาะแรงงานอย่างเดียว เช่น การรับเหมาก่อสร้างบ้านที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนจัดหาสัมภาระในการก่อสร้างมาเอง เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย หรือวัสดุจำเป็นอื่นๆ ในการก่อสร้าง ค่าตอบแทนจะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(7) หรือการรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้รับจ้างจัดหาอุปกรณ์ วัสดุจำเป็นมาเองเพื่อนำมาผลิตชิ้นงานให้แก่ผู้ว่าจ้าง หรือ การรับซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ที่ผู้รับซ่อมต้องจัดหาอะไหล่มาเปลี่ยนให้แก่ผู้ว่าจ้างเอง ค่าตอบแทนจะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(7)

เงินได้ประเภทนี้อาจสับสนกับเงินได้จากการรับทำงานให้หรือวิชาชีพอิสระหรือเงินได้จากการประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ตามมาตรา 40(2) 40(6) และ 40(8) กล่าวคือ ถ้าเป็นการ รับเหมาเฉพาะแรงงานโดยผู้รับเหมาทำคนเดียวได้โดยไม่ต้องลงทุนจัดหาสัมภาระจำเป็นมาเองจะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) หากไม่มี ค่าใช้จ่ายสูงในการรับเหมางานชิ้นนั้นและ ไม่จำเป็นต้องใช้วิชาชีพ

แต่ถ้าต้องใช้วิชาชีพจึงจะทำได้และไม่ต้องจัดหาสัมภาระสำคัญ เช่น การออกแบบแปลน และเป็นการรับเหมาเฉพาะแรงงานจะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6)

อย่างไรก็ดี แม้เป็นการรับเหมาเฉพาะแรงงานและไม่จำเป็นต้องใช้วิชาชีพ แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายสูงในการผลิตชิ้นงานก็อาจเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ตัวอย่างเช่น บริษัทกระป๋องไทยเป็นผู้ผลิตกระป๋องหรือภาชนะสังกะสีขาย และต่อมาได้รับจ้างผลิตภาชนะตามแบบที่ลูกค้าผู้ว่าจ้างกำหนดให้โดย ผู้ว่าจ้างเป็นฝ่ายนำวัตถุดิบจำเป็นมาให้ผู้รับจ้าง แต่เนื่องจากผู้ผลิตต้องมีโรงงานแท่นรีดโลหะและเครื่องจักรที่ต้องลงทุนสูง และจ้างพนักงานมากมายในการผลิตชิ้นงาน ถือว่าเป็นงานที่ต้องมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายสูง ค่าตอบแทนจะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) หรือ กรณีที่บริษัท ก. รับสำรวจและวิเคราะห์ชั้นหินและชั้นดินในบริเวณหลุมขุดเจาะสำรวจน้ำมัน เมื่อได้ตัวอย่างดินแล้วต้องนำไปจ้างห้องทดลองทำการวิเคราะห์ผลโดยผู้รับจ้างสำรวจต้องมีค่าใช้จ่ายสูงในการจ้างห้องทดลองวิเคราะห์ผลและผู้รับจ้างสำรวจไม่สามารถทำได้เองทั้งหมด ค่าตอบแทนจะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)

อาจสรุปได้ว่า เงินได้ตามมาตรา 40(7) นี้ไม่คำนึงว่าผู้รับเหมาจะต้องใช้วิชาชีพด้านใด หรือไม่ และไม่ใช่การรับเหมาเฉพาะแรงงานแต่เพียงอย่างเดียวแต่ที่สำคัญผู้รับเหมาต้องลงทุนจัดหาสัมภาระสำคัญในการผลิตชิ้นงานเองเป็นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดนอกเหนือจากเครื่องมือในการประกอบอาชีพ

(4) เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การ เกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การ เกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ประกอบด้วยเงินได้ดังนี้

1. การธุรกิจ (Business) หมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งประกอบด้วยการค้า (Trade) การพาณิชย์ (Commerce) การเงิน (Finance) และการอุตสาหกรรม (Industry)

2. การพาณิชย์ (Commerce) หมายถึง การแลกเปลี่ยน การซื้อ และการขายสินค้า

3. การเกษตรกรรม (Agriculture) หมายถึง การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์

4. การอุตสาหกรรม (Industry) หมายถึง การผลิตสินค้าและบริการ

5. การขนส่ง (Transportation) หมายถึง การขนส่งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ไม่ว่าจะใช้แรงงานหรือเครื่องจักร

6. การอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว เช่น

(1) เช็คที่นำเข้าธนาคารและอ้างว่าเป็นการชำระหนี้เงินยืม แต่นำตัวผู้ยืมเงินมาพิสูจน์ไม่ได้ ข้ออ้างเลื่อนลอย ไม่ได้เป็นการรับชำระหนี้ จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) (ฎีกาที่ 3201/2516)

(2) เงินที่ได้จากการให้ซึ่งไม่เข้าข้อยกเว้น

(3) เงินได้จากการพนัน

(4) เงินมัดจำ ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ผู้ขายได้รับแล้วถือว่าเป็น "เงินรายได้ จากการอื่นๆ ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวล-รัษฎากร"7 และเป็นเงินได้พึงประเมินที่ผู้ขายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แม้ผู้จะซื้อ ได้ฟ้องเรียกเงินมัดจำและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลก็ตาม

ข้อพิจารณาที่น่าสนใจ

1. กรณีผู้มีเงินได้มีเงินได้ประเภทอื่นที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ยื่นรายการเสียภาษีครึ่งปีรวมอยู่ด้วย

กรณีผู้มีเงินได้มีเงินได้ประเภทอื่นที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ยื่นรายการเสียภาษี ครึ่งปีรวมอยู่ด้วย เช่น มีเงินได้ประเภทเงินเดือนค่าจ้างตามมาตรา 40(1) การยื่นรายการครึ่งปี ให้นำเฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40(5) (6) (7) และ (8) เท่านั้นมายื่นรายการเสียภาษี ส่วนเงินได้ประเภทอื่นนอกจากเงินได้ดังกล่าว ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีครึ่งปีแต่อย่างใด

สำหรับการยื่นรายการเสียภาษีของสามีและภริยาที่ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้นั้น เนื่องจากการยื่นรายการเสียภาษีครึ่งปี ความเป็นสามีภริยายังไม่ได้มีอยู่เต็มปีภาษี ซึ่งก็ไม่แน่ว่าความเป็นสามีภริยาจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ ดังนั้น ในการยื่นรายการเสียภาษีครึ่งปี จึงมีความคิดเห็นเป็น 2 นัย ดังนี้

นัยที่ 1 เห็นว่า แม้ว่าในขณะยื่นรายการเสียภาษีครึ่งปีความเป็นสามีภริยาจะยังไม่มีอยู่เต็มปี แต่ตามมาตรา 57 ตรี แห่งประมวล-รัษฎากรก็ระบุให้สามีภริยาซึ่งได้อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี เพราะฉะนั้นการยื่นรายการเสียภาษีครึ่งปีจึงต้องถือเอาการยื่นรายการเมื่อสิ้นปีเป็นหลัก เมื่อสิ้นปีผู้มีหน้าที่ยื่นรายการเสียภาษีต่อสามี ดังนั้น การยื่นรายการเสียภาษีครึ่งปีก็ต้องให้สามีเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการเสียภาษีด้วย

นัยที่ 2 เห็นว่า เมื่อมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า กรณีที่จะถือเอาเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี จะต้องเป็นกรณีที่สามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี ดังนั้น การยื่นรายการเสียภาษีครึ่งปี ในขณะที่ยื่นรายการเสียภาษีความเป็นสามีภริยายังไม่ได้มีอยู่ตลอดปีภาษี และก็ไม่แน่ใจว่าจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ จึงไม่อาจนำมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาบังคับใช้ได้ ดังนั้น สามีและภริยาจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินได้ในส่วนของตนไปยื่นรายการเสียภาษีแยกต่างหากจากกัน

จากความเห็นทั้ง 2 นัยนั้น ในทางปฏิบัติกรมสรรพากรมีความเห็นตามนัยที่ 2

แนววินิจฉัยของกรมสรรพากร

สามีมีเงินได้จากเงินเดือน ภริยามีเงินได้จากการขายปุ๋ยและเวชภัณฑ์สัตว์ ตามมาตรา 57 ตรี กำหนดให้สามีมีหน้าที่และความรับผิด ในการยื่นรายการ ถ้าสามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี แต่ขณะยื่นแบบแสดงรายการครึ่งปี สามีและภริยายังมิได้อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี และไม่แน่ว่าจะอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีหรือไม่ กรณี ดังกล่าวสามีจึงไม่มีหน้าที่ยื่นรายการ ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการเสียภาษีครึ่งปี ได้แก่ภริยา ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร8

2. ข้อแตกต่างระหว่างเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(2) กับมาตรา 40(8)

เงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร จะเป็นเงินได้ประเภทใดนั้น ต้องพิจารณาถึง รายจ่ายและลักษณะของงานที่ทำประกอบด้วย เงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ลักษณะงานที่ทำมี ค่าใช้จ่ายไม่มาก ประมวลรัษฎากรจึงกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายได้น้อยและหักค่าใช้จ่ายเท่ากัน ส่วนเงินได้ตามมาตรา 40(8) เป็นเงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ อันเป็นงานที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง ประมวลรัษฎากรจึงยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ มากกว่าเงินได้ตามมาตรา 40(2) ซึ่งจะศึกษา ได้จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2536 ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2536 โจทก์เป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน โจทก์ได้รับสัมปทานในการ ขุดเจาะน้ำมันที่อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ในการดำเนินการสำรวจน้ำมันโจทก์ได้ว่าจ้างให้บริษัทดิจิคอล จำกัด แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาทำการแปลข้อมูลจาก คลื่นเสียงออกมาเป็นภาพ และบริษัทนี้ได้รับจ้างทำการแปลข้อมูลให้ผู้ว่าจ้างทั่วโลก ในการจ้าง ดังกล่าวโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างให้บริษัทดิจิคอล จำกัด ในปี 2523, 2524และ 2525 เป็นเงิน 3,134,552.42 บาท 7,376,441.99 บาท และ 779,350.38 บาท ตามลำดับ โดยมิได้หักภาษีและนำส่งตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ที่บริษัทดิจิคอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศ ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการรับทำงานให้โจทก์ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อจ่ายเงินได้ดังกล่าวโจทก์ต้องหักภาษีและนำส่งเจ้าพนักงานของจำเลย

เมื่อโจทก์ไม่หักภาษีไว้จึงต้องรับผิดชอบ ในจำนวนเงินภาษีที่ต้องหักไว้และประเมินให้เรียกเก็บภาษีและเงินเพิ่มจากโจทก์ในปี 2523, 2534 และ 2525 จำนวน 934,365.73 บาท 2,206,932.60 บาท และ 225,163.51 บาท ตามลำดับ โจทก์เห็นว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน จากการประกอบธุรกิจตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จึงได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการประเมินชอบด้วยกฎหมายแล้ว ให้ยกอุทธรณ์

(ติดตามเนื้อหาเต็มได้ในวารสารสรรพากรสาส์นประจำเดือนสิงหาคม 2553)

Tags : ใครและเงินได้ประเภทใดที่จะต้องยื่นแบบฯ ภาษีครึ่งปี

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view