http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,988,412
เปิดเพจ7,842,752

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

การยื่นแบบและคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

การยื่นแบบและคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มีหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ ซึ่งการเสียภาษีเงินได้ดังกล่าวนอกจากจะต้อง ยื่นรายการและชำระภาษีเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 68 แห่งประมวล รัษฎากรแล้ว เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามประมวลรัษฎากรมาตรา 68 กฎหมายยังกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการและชำระภาษีงวดหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 ทวิ ด้วย โดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีแล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็จะต้องรับผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 ตรี แต่ในทางปฏิบัติจริงนั้นอาจเกิดประเด็นที่มีความซับซ้อนแตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดซึ่งจำเป็นต้องมีแนวทางสำหรับผู้ประกอบการได้พิจารณาอย่างกว้างขวางมากขึ้นด้วย บทความนี้จึงได้นำเสนอประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเลือกกรณีศึกษา ที่น่าสนใจจากแนวคำวินิจฉัยทั้งในส่วนของ คำพิพากษาศาลฎีกาและแนวคำวินิจฉัยของ กรมสรรพากร โดยมีกรอบการนำเสนอดังนี้

1. สาระสำคัญเบื้องต้น ประกอบด้วยกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้อง หลักเกณฑ์การเสียภาษี และความรับผิดกรณีไม่ยื่นแบบหรือยื่นรายการไม่ครบถ้วน

2. ประเด็นปัญหาที่น่าสนใจ

3. แนวคำวินิจฉัย ประกอบด้วยแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาและแนวคำวินิจฉัยของกรมสรรพากร


1.สาระสำคัญเบื้องต้น

1.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(1) ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 107) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 128) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16)

(2) ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542 ท.ป.120/2545 และ ท.ป.121/2545 คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.50/2537 ป.92/2542 และ ป.117/2545

1.2 หลักเกณฑ์การเสียภาษี

1.2.1 เสียภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี 2

(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ประมวล- รัษฎากรได้กำหนดไว้ดังนี้
"การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากประมาณการกำไรสุทธินั้น กฎหมายกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วๆ ไป ที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 ทวิ (2) จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ (ทั้งปี) ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำ หรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี ได้กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเท่าใด ให้นำกึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิที่ประมาณการได้นั้นมาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากประมาณการกำไรสุทธินั้น ใช้บังคับเฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเท่านั้น สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีตามเกณฑ์อื่น ไม่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีแต่อย่างใด ได้แก่ มูลนิธิ สมาคม บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศที่เสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีตามมาตรา 76 ทวิ (กรณีมีลูกจ้างผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีด้วย เนื่องจากเป็นกิจการที่ต้องชำระภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ"

(2) วิธีการคำนวณภาษี

การเสียภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณ-การกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 67 ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ (ทั้งปี) จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำใน รอบระยะเวลาบัญชี ได้กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเท่าใดให้นำกึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิที่ประมาณ-การได้นั้นมาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

การจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ เพื่อเสียภาษีสำหรับหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรด้วย ซึ่งสามารถนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันมาถือเป็นรายจ่ายได้

ตัวอย่าง บริษัท ก.จำกัด ได้ประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 เท่ากับ 500,000 บาท บริษัทจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากประมาณกำไรสุทธิ ดังนี้

• ประมาณการกำไรสุทธิทั้งรอบระยะเวลาบัญชี 500,000 บาท

• ประมาณการกำไรสุทธิสำหรับหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี 250,000 บาท

• ภาษีเงินได้นิติบุคคล 30% ของ 250,000 บาท 75,000 บาท

(3) การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษี

ใช้แบบ ภ.ง.ด.51 พร้อมชำระภาษี ภายใน 2 เดือนนับแต่พ้นงวด 6 เดือนแรก

1.2.2 การเสียภาษีจากการกำไรสุทธิของรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี 3

(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่
(ก) บริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

(ข) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์

(ค) บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

(ง) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ประกาศ อธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 128)ฯ ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2546

ในกรณีบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ให้คำนวณและชำระภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี

(2) วิธีการคำนวณภาษี

สำหรับการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลา 6 เดือนนี้ คำนวณได้โดยเอารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลา 6 เดือน หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี จึงเห็นได้ว่า การคำนวณเสียภาษีกรณีนี้จะตรงกับความจริงมากกว่าการคำนวณเสียภาษีจากการประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ เพราะรายได้และรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ จะคำนวณเฉพาะรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลา 6 เดือนเท่านั้น แต่การคำนวณเสียภาษีจากการประมาณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ จะต้องคำนึงถึงรายได้และรายจ่ายในช่วง 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชีที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งอาจทำให้การประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิผิดพลาดก็ได้ หากมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการคาดหมายของบริษัทฯ เกิดขึ้น

(3) การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษี

ใช้แบบ ภ.ง.ด.51 พร้อมกับชำระภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดงวด 6 เดือนแรก

ข้อพิจารณา

การยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ง.ด.51) ของบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ รวมถึงบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับ 128) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ให้นำรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลา 6 เดือนหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ-บุคคลดังกล่าว จึงมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิทั้งจำนวนยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรได้

1.3 ความรับผิดกรณีไม่ยื่นแบบหรือยื่นรายการไม่ครบถ้วน

ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไม่ยื่นรายการเสียภาษีงวด 6 เดือนหรือยื่นรายการเกินกำหนดเวลา หรือยื่นรายการไม่ครบถ้วน จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามประมวล-รัษฎากรมาตรา 67 ตรี ซึ่งบัญญัติไว้

(1) กรณีการเสียภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี

ในกรณีดังกล่าวเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษี โดยแยกกรณีความผิดออกได้ดังนี้

ก. กรณีไม่ยื่นรายการและชำระภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบกำหนดรอบ ระยะเวลาหกเดือน โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินอาจสั่งให้เสียเงินเพิ่มอีก ร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

ข. กรณียื่นรายการและชำระภาษีเมื่อพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันครบกำหนดรอบระยะเวลาหกเดือน โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินอาจสั่งให้เสียเงินเพิ่มอีก ร้อยละ 20 ของเงินภาษีที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.51 ที่ยื่น (ใช้บังคับรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2524 เป็นต้นไป จากร้อยละ 20 ของประมาณการกำไรสุทธิ)

ค. กรณียื่นรายการและชำระภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบกำหนดรอบระยะเวลาหกเดือนแล้ว แต่แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเป็นจำนวนเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินอาจสั่งให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนภาษีที่ชำระขาดไป

(2) กรณีการเสียภาษีจากการกำไรสุทธิของรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

ในการเสียภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาหกเดือนดังกล่าว หากบริษัทซึ่งมี หน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษี ไม่ยื่นรายการภายในกำหนดเวลา หรือยื่นรายการภายในกำหนดเวลา แต่ชำระภาษีขาดไป เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจเรียกเก็บเงินเพิ่ม โดยแยกกรณีความผิดได้ดังนี้

ก. กรณีไม่ยื่นรายการและชำระภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบกำหนดรอบระยะเวลาหกเดือน เจ้าพนักงานประเมินอาจสั่งให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ ต้องชำระ

ข. กรณียื่นรายการและชำระภาษีเมื่อพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันครบกำหนดรอบระยะเวลาหกเดือน เจ้าพนักงานประเมินอาจสั่งให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ

ค. กรณียื่นรายการและชำระภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบกำหนดรอบระยะเวลาหกเดือนแล้ว แต่ชำระภาษีไว้ไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเหตุอันสมควรทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชำระขาดไป เจ้าพนักงานประเมินอาจสั่งให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนภาษีที่ชำระขาดไป


2.ประเด็นปัญหาที่น่าสนใจ

2.1 การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีโดยประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกิน ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามกำไรสุทธิที่ถูกต้องตามแบบ ภ.ง.ด. 50 โดยคำนวณจากภาษีที่ชำระไว้ขาดโดยไม่ต้องคำนึงถึงภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ถูกต้องหรือไม่

ประเด็นดังกล่าว ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2544 ระหว่าง ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมาลัยแมนบริการ (โจทก์) และกรมสรรพากร (จำเลย) วินิจฉัยว่า มาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้บริษัทหรือห้าง-หุ้นส่วนนิติบุคคลที่แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี เช่นนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจะนำมาหักได้ตามกฎหมายโดยรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ซึ่งแบบ ภ.ง.ด. 51 ของจำเลยในช่องการคำนวณภาษีก็ยินยอมให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในรายการที่ 4 แล้ว จึงนำมาถือเป็นภาษีเงินได้ที่ต้องชำระเพิ่มเติมในรายการที่ 5 เช่นนี้ โจทก์ย่อมนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปมาหักได้ การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำหลักเกณฑ์ตามวรรคสอง ข้อ 2 ตามหนังสือที่ กค 0810/13103 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2532 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจในการขอยกเว้น เงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามมาตรา 27 เบี้ยปรับตามมาตรา 22, 26 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 และกรณี ไม่ยื่นประมาณการกำไรสุทธิซึ่งแปลความตามมาตรา 67 ตรี ในทางที่เป็นผลร้ายแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรจึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา แต่กรมสรรพากรมีคำวินิจฉัยในการตอบข้อ หารือกรณีดังกล่าวต่างจากคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 7055/2544 ที่ให้นำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มาหักจากภาษีที่ต้องเสียก่อนคำนวณเงินเพิ่ม เนื่องจากเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มีเจตนาเป็นบทกำหนดโทษ ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร หากให้นำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มาหักก่อนคิดเงินเพิ่มจะเกิดความไม่เป็นธรรม ต่อผู้ที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 51 ภายในกำหนดเวลา และบทกำหนดโทษตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะไม่มีสภาพบังคับได้ ดังนั้น การคิดเงินเพิ่มในกรณีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ให้คำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จากภาษี ที่ต้องชำระทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามข้อ 2 ของหนังสือที่ กค 0801/13103 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2532 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจในการขอยกเว้นเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามมาตรา 27 เบี้ยปรับตามมาตรา 22 มาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 และกรณีไม่ยื่นประมาณการกำไรสุทธิ และหนังสือที่ กค 0802/266 ลงวันที่ 6 มีนาคม 25344 พิจารณาได้ตามตัวอย่างแนววินิจฉัยของกรมสรรพากรดังนี้5

ที่มา http://www.sanpakornsarn.com

 

Tags : การยื่นแบบและคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view