http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,980,255
เปิดเพจ7,830,664

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ

ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ

หากมีมูลค่าของฐานภาษีเกิดขึ้นในปีหนึ่งเกินกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม คือมีมูลค่าของฐานภาษีเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปีขึ้นไป ผู้ประกอบการจะต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราทั่วไปหรือ ในอัตราร้อยละ 0 แล้วแต่กรณี และคำนวณภาษีโดยใช้ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ แต่ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการบางประเภทไว้ด้วย
2 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มย่อมมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน สินค้าบางชนิดเป็นสิ่งจำเป็นต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น สินค้าทางการเกษตร หรือบริการบางอย่างมีลักษณะเป็นสวัสดิการทางสังคมด้วย เช่น การให้บริการการศึกษา การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็นทางสังคมและบรรเทาภาระของประชาชน จึงมีกฎหมายยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการบางประเภทไว้ด้วย อย่างไรก็ดี มีผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มบางประเภท ซึ่งไม่มีหน้าที่ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากแต่เห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการก็สามารถเลือกเข้ามาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็น "ผู้ประกอบการจดทะเบียน" ได้ โดยจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและคำนวณภาษีโดยวิธีขายหักด้วยภาษีซื้อ3 ถือเป็นการเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มของกิจการที่ได้รับยกเว้น ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ตามกรอบการนำเสนอซึ่งประกอบด้วย

1. สาระสำคัญเบื้องต้น

1.1 กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมีสิทธิเข้าสู่ระบบ

1.2 กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่มีสิทธิเข้าสู่ระบบ

1.3 การออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

2. แนววินิจฉัยของกรมสรรพากร

1.สาระสำคัญเบื้องต้น

 

1.1 กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมีสิทธิเข้าสู่ระบบ ตามประเภทกิจการ ที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย 3 ประเภทได้แก่ (1) ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 81(1)(ก) ถึง (ฉ) ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (2) ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยกิจการนั้นเป็นกิจการขนาดย่อมตามประมวลรัษฎากร มาตรา 81/1 และ (3) ผู้ประกอบกิจการที่ประกอบกิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

 

(1) ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 81(1)(ก) ถึง (ฉ) ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

 

 ผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 81(1) (ก) ถึง (ฉ) และมีสิทธิเลือกเข้าสู่ระบบภาษี มูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 81/3(1) ผู้ประกอบการดังกล่าวหากประสงค์จะขอเข้าสู่ระบบภาษี มูลค่าเพิ่มก็ให้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบที่อธิบดีกำหนด และให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่ วันที่ได้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร4

 

เมื่อผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มขอเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการดังกล่าวจะเลิกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ต่อเมื่อได้ใช้สิทธิขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85/10(3) และอธิบดีได้สั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วตามประมวลรัษฎากรมาตรา 81/3 วรรคสอง

ประเด็นที่น่าสนใจมีว่า การขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 81/3 แห่งประมวลรัษฎากร หากประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างเดียวคงจะไม่มีปัญหาในการขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะต้องทำตามขั้นตอนของกฎหมายอยู่แล้ว แต่ถ้าหากประกอบกิจการทั้งประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ กับประเภทที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะที่ไปขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ผู้ประกอบการไม่เจตนาที่จะนำเอากิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ในขณะที่ไปจดทะเบียนได้แจ้งถึงประเภทของกิจการของตนรวมกันไปทั้งหมด ไม่แบ่งแยกให้ชัดเจน จึงทำให้เห็นว่าการจดทะเบียนดังกล่าวได้นำเอากิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้นำเอายอดขายที่ได้รับยกเว้นภาษีไปรวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ยังคงเจตนาที่จะยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ กรณีดังกล่าวการนำเอากิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องมีการแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรและจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันแจ้ง เมื่อได้ทำตามขั้นตอนดังกล่าวแล้วจึงจะมีผลตามกฎหมาย แต่การที่ผู้ประกอบการได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยนำเอากิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่มีสิทธิจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้โดยไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนตามกฎหมาย และไม่มีเจตนาจดทะเบียนสำหรับกิจการดังกล่าว ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องขอถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนดังกล่าวต่อไป ดังนั้น ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจะต้องแยกกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้ชัดแจ้ง (ไม่ควรเอากิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมายื่นแจ้งในขณะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในแบบ ภ.พ.01)

(2) ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยกิจการนั้นเป็นกิจการขนาดย่อมตามประมวลรัษฎากร มาตรา 81/1

หลักเกณฑ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 81/1

ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการดังกล่าวมีมูลค่าของ ฐานภาษีไม่เกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดจำนวนมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมให้แตกต่างกันในกิจการแต่ละประเภทไม่ได้ แต่จำนวนมูลค่าของฐานภาษีที่กำหนดจะต้องไม่น้อยกว่า 600,000 บาทต่อปี5

ในกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมไว้แล้วได้แก่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งกิจการของตนมีมูลค่าของฐานภาษีต่ำกว่ามูลค่าของฐานภาษี ของกิจการขนาดย่อมตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา หากผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาท ต่อปี แต่ได้ไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผลจะเป็นอย่างไร พิจารณาได้ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

ตัวอย่าง กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการที่มีรายรับไม่ถึง 600,000 บาทต่อปี บริษัทฯ จึง ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่จะแจ้งต่ออธิบดีเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81/3 แห่งประมวลรัษฎากร และจากการตรวจสอบหลักฐานคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ปรากฏว่าบริษัทฯ ระบุว่าประกอบกิจการรับจ้างเป็นที่ปรึกษาฝึกอบรมและส่งเสริมการขาย ยังไม่มีรายรับขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7.0 จึงเป็นกรณีที่ ผู้ประกอบการแจ้งต่ออธิบดีเพื่อขอจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81/3 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีนี้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ผู้ประกอบการจะต้องประกอบการเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน และต้องมีมูลค่าของฐานภาษีของกิจการต่ำกว่ามูลค่าของฐานภาษี ของกิจการขนาดย่อม ซึ่งมีรายรับไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 85/10(3) แห่งประมวลรัษฎากร6

หมายเหตุ ปัจจุบันกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมไว้ว่าจะต้องไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี

ประเด็นปัญหาต่อไปมีว่า เป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต่อมากิจการของตนมีมูลค่าของฐานภาษีต่ำกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ต้องปฏิบัติอย่างไร พิจารณาตามแนววินิจฉัยของ กรมสรรพากร7 ซึ่งวินิจฉัยไว้ว่า กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะขอให้อธิบดี สั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/10(2) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะต้องมีมูลค่าของฐานภาษีต่ำกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่งปัจจุบันได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548 กำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากรจะต้องไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี และคำว่า "ปี" ในกรณีที่ ผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล ให้นับตามรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่ในกรณีที่เริ่มประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เริ่มนับตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี หรือในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดาให้นับตามปีประดิทิน เว้นแต่ในกรณีที่เริ่มประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เริ่มนับตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการถึงวันสิ้นปีประดิทิน โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป เมื่อตามข้อเท็จจริงบริษัทหรือบุคคลธรรมดาได้ประกอบกิจการตั้งแต่ปี 2545 และ ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2546 และมูลค่าของฐานภาษีของปี 2546 ถึงปี 2548 มีรายได้ 1,500,000 บาท 1,000,000 บาทและ 1,200,000 บาท ตามลำดับ ซึ่งต่อมามีพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548 กำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี บริษัทหรือบุคคลธรรมดาดังกล่าวจึงมีมูลค่าของฐานภาษีต่ำกว่าหนึ่งล้านแปดแสนบาทเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปี เข้าตามหลักเกณฑ์ ที่จะขอให้อธิบดีสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 85/10(2) แห่งประมวลรัษฎากร

http://www.sanpakornsarn.com

 

Tags : ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view