http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,987,562
เปิดเพจ7,841,628

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

ภาษีที่ดิน : บทวิเคราะห์

ภาษีที่ดินบทวิเคราะห์

      รัฐบาลประกาศล่าสุดว่า ภายในเดือนสิงหาคมนี้ จะนำร่างกฏหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเข้าสู่การพิจารณาของ คณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีเป้าหมายประกาศใช้ให้ทัน วันที่ 1 มกราคม 2553 และมีผลบังคับใช้จริง วันที่ 1 มกราคม 2555 หรือในเวลาอีก 2 ปีเศษ
     หากย้อนดูหลักการเดิมของกฏหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่จะนำมาใช้แทนภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรางการคลัง มักมุ่งเน้นอยู่เสมอว่าจะออกกฏหมายฉบับนี้ เพื่อใช้จัดเก็บ ภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ป้องกันไม่ให้เกิดความรั่วไหล เกิดความเป็นธรรม ขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม กล่าวคือ ใครมีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมากเสียมาก...ใครมีน้อยเสียน้อยคามมูลค่าทรัพย์สิน จากที่ผ่านมามีหลายกุลุ่มไม่เคยเสีย ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ขณะนี้เดียวกัน กฏหมายฉบับนี้มีเจตนารมณ์สำคัญที่จะผลักดันที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่อยู่ในเมือของ คนกลุ่มน้อยเพียงบางกลุ่มถูกนำมาใช้ประโยชน์ ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นการลงทุนพัฒนาเอง หรือให้เช่าทำเกษตร ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ ท้องถิ่นสามารถจัดเก็บรายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพื่อใช้พัฒนาท้องถิ่นแต่จะต้องไม่เป็นลักษณะ เพิ่มภาระให้กับประชาชน
     แต่ทำไปทำมาดูเหมือนว่าการผลักดันให้มีการจัดเก็บภาษีคราวนี้ กลับตั้งเป้ารายได้ไว้สูงถึงกว่า 90,000 ล้านบาท (เต็มเพดานของฐานภาษี) เพื่อนำมาช่วยรัฐบาลกรณีขาดแคลนงบประมาณ หรือช่วง "ถังแตก" แต่ก่อนหน้านี้จำได้ว่า เคยตั้งเป้าไว้แค่ปีละ 20,000 ล้านบาท และหากมองลึกลงไปแล้ว ภาษีที่ดินได้ซ่อนการตีความที่คลุมเคลืออยู่มาก ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อประชาชนที่มีภาระเพิ่มจากภาษีตัวนี้อยู่แล้วกลับต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแบบซ้ำ ซ้อนตามมาอีก
     นอกจากภาษีทรัพย์สินจะกระทบกับประชาชนที่มีที่อยู่อาศัยแล้ว ปัญหาใหญ่ที่น่าวิตกก็คือ คนที่ตัดสินใจซื้อบ้านและ คอนโดมิเนียม ในช่วงนั้น จะมีโอกาสซื้อบ้านในราคาที่แพงขึ้นจากราคาปกติ เนื่องจากบริษัทพัฒนาที่ดินจะผลักภาระ ต้นทุนบวกเข้าไปในราคาบ้านเพราะกฏหมายตีความชัดว่า โครงการที่อยู่ระว่างการพัฒนาจะอยู่ในเครือข่ายต้องเสียภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทพาณิชยกรรม ซึ่งเพดานกำหนดไว้ไม่เกิน 0.5% ของมูลค่าทรัพย์สิน
     ยิ่งรายที่มักใช้กลยุทธ์ "สร้างเสร็จก่อนขาย" ด้วยแล้ว มูลค่าทรัพย์สินก็ยิ่งสูงขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายภาษีส่วนนี้ผู้ประกอบการ จะต้องเสียเป็นด่านแรกและจะผลักภาระต่อให้กับผู้ที่ซื้อบ้าน ขณะเดียวกันปกติแล้วการซื้อ-ขายบ้านจะต้องมีค่าธรรมเีนียม ต่างๆเข้ามาเกียวข้อง ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงอยู่ก่อนแล้ว ไ่ม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเีนียมการโอนที่ปกติเสียร้อยละ 2% ค่าจดจำนอง ร้อยละ 1 ของกรมที่ดิน ส่วนของกรมสรรพากร ได้แก่ ค่าอากรแสตมป์ร้อยละ 0.5 ที่ต้องพิจารณาเรียกเก็บจากราคา ที่สุงที่สุดระหว่างราคาซื้อ-ขายตลาด กับราคาประเมินที่ดิน ภาษีธุรกิจเฉพาะอัตราร้อยละ 3.3% ที่ฝากกรมที่ดินเรียกเก็บ โดยยังไม่รวมค่าธรรมเีนียมอื่นๆ และเมื่อซื้อบ้านไปแล้ว ปีต่อๆไปก็ต้องอยู่ในข่ายเสียภาษีประเภทที่อยู่อาศัยซึ่งเพดาน สูงสุดกำหนดไว้ไม่เกิน 0.1%
     อีกประเด็นหนึ่งที่ถกกันมากคือ "ทรัพย์ส่วนกลาง" ที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ในโคางการบ้านจัดสรร และอาคารชุด เช่น ถนน เสาไฟฟ้าส่องสว่าง สโมสร คลับเฮาส์ สระว่ายน้ำ สวนสาธารณะ ฯลฯ จะต้องอยู่ใน ข่ายที่ต้องเสียภาษีทรัพย์สินด้วย เนื่องจาก "ทรัพย์ส่วนกลาง" อยู่ในประเภทพาณิชยกรรม ต้องเสียภาษีไม่เกินเพดาน 0.5% ของมูลค่าทรัพย์สินโดยเฉพาะ โครงการจัดสรรที่ขออนุญาตตามพระราชบัญญัติ การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ที่ กฏหมายกำหนด ต้องตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรขึ้นมาดูแลทรัพย์ส่วนกลาง หรือกรณีที่ผู้ประกอบการดูแลสาธารณูปโภคเอง และยังไม่ยกให้เป็นสาธารณะหรือให้องค์กกปรกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดูแลให้ถือว่าทรัพย์ส่วนกลางดังกล่าวจะต้องถูก ประเมินให้เสียภาษีทรัพย์สินรายปีด้วย เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์ส่วนกลาง จะต้องถูกเกลียเป็นรายแปลงให้ตกเป็นภาระของ ผู้บริโภคที่ซื้อโครงการหรืออยู่อาศัยในโครงการหรืออยู่อาศัยในโครงการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นอกเหนือการเสียค่าใช้จ่าย รายเืดือนตามปกติ
     สินทรัพย์อีกประเภทที่คาดไม่ถึงว่าจะต้องอยู่ในข่ายเสียภาษีทรัพย์สินก็คือ รถไฟฟ้า ทางด่วน สนามบิน ฯลฯ เนื่องจาก รัฐเป็นผู้หาประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการเปิดให้บริการฟรี หรือดำเนินการเพื่อใช้ในกิจการของรัฐ จึงจำเป็นต้องเรียกเก็บตามบัญชีของราคาประเมิน เช่นเดียวกับที่ดินของรัฐที่เปิดให้เช่าพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ทั่วไปโดย หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องเสียภาษีรายปี และแน่นอนว่าผู้ที่ผลักให้รับภาระอีกทอดหนึ่ง ก็คือประชาชนผู้ใช้ทางนั่นเอง
     แม้ 3 สมาคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอาคารชุดไทย และสมาคมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จะเสนอต่อ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะเข้าของเรื่องว่าควรยกเว้นภาษีดังกล่าวหรือลดหย่อนภาษี ค่าธรรมเนียมที่ จัดเก็บในขณะโอนบ้าน การยกเว้นการจัดเก็บภาษีทรัพย์ส่วนกลาง เนื่องจากทุกโครงการติดปัญหาต้องตั้งนิติบุคคล บ้านจัดสรรและนิติบุคคลอาคารชุด ไม่สามารถยกเป็นสาธารณะให้กับท้องถิ่นได้ขณะเดียวกัน ต่างไม่เห็นด้วยที่ระบบ ขนส่่งและบริการสาธารณะจะอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีตัวนี้ด้วยเช่นกัน แต่ สศค. กลับมองว่าไม่สามารถละเว้นได้ทุกกรณี โดยให้เหตุผลว่า การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินเป็นหน้าที่ของทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบ และการตีความของทรัยพ์ ที่หาประโยชน์เชิงพาณิชย์จะต้องเสียภาษีส่วนค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เกิดจากการซื้อบ้านเป็นค่าธรรมเนียมตามแต่ละ กฏหมายกำหนด และเป็นลักษณะการเสียค่าใช้จ่ายเพียงครั้งเดียว ต่อเมื่อมีการซื้อ-ขายเท่านั้น ขณะเดียวกันก็ขอนำกลับ ไปศึกษา ว่าพอจะมีทางออกอย่างไรได้บ้างแต่ที่จะผ่อนปรน สศค. ระบุว่าน่าจะเป็นผู้มีรายได้น้อย หรือประชาชนรากหญ้า ที่ไม่มีเงินจะจ่ายภาษีจริงๆ ส่วนนอกนั้นอยู่ในข่ายทั้งหมด
     ด้านผู้อำนวยการสำนักประิเมินราคาสินทรัพย์ กรมธนารักษ์ นายแคล้ว ทองสม ออกมาระบุว่า แม้กฏหมายจะมี บทเฉพาะกาลบังคับใช้จริง 2 ปีนับจากประกาศใช้ คือ 1 มกราคม 2555 แต่ขั้นตอนการดำเนินงาน มีปัญหาติดขัดอยู่มาก โดยเฉพาะกระบวนการประเมินราคาที่ดินรายแปลงต้องยอมรับว่า กรมธนารักษ์ประเิมนไปได้เีพียง 58,000,000 แปลง จาก 30 ล้านแปลง แม้กฏหมายจะให้ระยะเวลานานถึง 2 ปี แต่ฟันธงว่าไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสรจได้ ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาจะเป็นลักษณะประเมินเฉพาะทีดินเปล่า แต่บัญชีราคาสิ่งปลูกสร้างยังไม่มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าภาพ สภาพบ้าน วัสดุุ นายแคล้วระบุว่า ควรใช้วิธีถอดแบบเป็นชิ้นส่วน และประเมินเป็นรายชิ้นเหมือนกับการจ่ายชดเชย การเวนคืน เพราะเกรดวัสดุ อายุการก่อสร้าง ย่อมแตกต่างกัน
     นายแคล้วเท้าความถึงสาเหตุที่กรมธนารักษ์ไม่สามารถประเิมนรายแปลงต่อได้เนื่องจากต้องหยุดรอกรมที่ดินบรรจุ ข้อมูลแปลงที่ดินลงในระบบดิจิตอลให้แล้วเสร็จก่อน จึงสมารถดึงข้อมูลที่ดินแต่ละแปลงมาประเิมนอย่างละเีอียดได้ แต่มี ปัญหาว่า ขณะนี้ยังไม่เริ่มดำเนินโครงการและกรมที่ดินก็ออกมายอมรับเองว่าระบบฐานข้อมูลที่ดินทุกแปลงที่ใช้จัดเก็บ ภาษีที่ดินไม่น่าเสร็จทันกำหนดในอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันได้ขอต่อเวลาอีก 1 ปีคือ 2556
    เท่ากับว่าแม้กฏหมายจะมีผลบังคับใช้จริง แต่ฐานข้อมูลที่ดินที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะนำไปใช้ประเมินราคา ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อเรียกเก็บภาษีจะมีปัญหาและอุปสรรคตามมา และหากท้องถิ่นประเิิมินเองมาตรฐานสูงต่ำจะเป็น ธรรมหรือไม่ เนีื่องจากไม่มีความชำนาญและอาจเลือกที่รักมักที่ชัง ซึ่งทางออก บริษัทประเิมินเอกชนก็มีไม่มาก เมื่อเทียบกับแปลงที่ดินที่เหลือ รอการประเมินอีก 24 ล้านแปลงทั่วประเทศ โดยไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง
     การเร่งประกาศใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อขยายฐานรายได้เข้าท้องถิ่นนับเป็นเรื่องดีแต่มุมกลับกัน หากยังไม่มี ความพร้อม อย่าเพิ่งผลักดันให้ออกมาเพราะอาจมีปัญหาในทางปฏิบัติได้โดยเฉพาะเรื่องการตีความในข้อกฎหมายแต่จุด ยืนที่สำคัญจะต้องเป็นธรรมและประชาชนไม่เดือนร้อน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ 

Tags : ภาษีที่ดิน : บทวิเคราะห์

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view