http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,987,944
เปิดเพจ7,842,089

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

รู้สิทธิยกเว้นและค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

รู้สิทธิยกเว้นและค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บุคคลเมื่อมีเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) – (8) เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้ ประมวลรัษฎากร จึงกำหนดให้หักค่าลดหย่อน (Allowances Exemptions) ได้อีก ค่าลดหย่อนแตกต่างกับค่าใช้จ่ายในข้อที่ว่า ค่าใช้จ่ายเป็น ต้นทุนหรือเงินที่จ่ายไปเพื่อให้ได้ซึ่งเงินได้ แต่ค่าลดหย่อนเป็นตัวบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี ทำให้เสียภาษีน้อยลงหรืออาจจะไม่ต้องเสียภาษีเลยก็ได้ ยามใดที่รัฐบาลเห็นว่าประชาชนต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ รายได้ไม่พอกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลก็อาจเสนอแก้กฎหมายให้เพิ่มค่าลดหย่อนมากขึ้น เมื่อค่าลดหย่อน เพิ่มขึ้น เงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีก็จะลด น้อยลง ภาษีที่จะต้องเสียก็ลดน้อยลงหรืออาจจะ ไม่ต้องเสียภาษีเลยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น นอกจากค่าลดหย่อนจะเป็นตัวบรรเทาภาระภาษีแล้วยังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตและครอบครัวของประชาชน กับเพื่อส่งเสริมความกตัญญู การศึกษา และการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันของสังคม
สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นมีประเด็นที่น่าสนใจหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการยกเว้นภาษีเงินได้บางชนิดบางประเภท หรือการให้สิทธิลดหย่อนในอัตราพิเศษมากกว่าปกติ ก็เป็นเรื่องที่ควรจะได้พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่ออกใหม่ในปี 52 ที่ผ่านมานี้ มีการแก้ไขประมวลรัษฎากรในหลายประเด็น ยกตัวอย่างเช่น มาตรา 47(1)(ฎ) กรณีการหัก ลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ และคนทุพพลภาพ ประกอบกับกรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 182) มาตรการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ซื้ออสังหา- ริมทรัพย์ ซึ่งออกเป็นกฎกระทรวงฉบับที่ 271 (พ.ศ. 2552)ฯ ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178) ฯลฯ ผู้เขียนจึงขอนำเสนอเนื้อหาสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่มีลักษณะพิเศษไปจากการหักค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนตามปกติในการคำนวณภาษี พร้อมกับค่าลดหย่อนอื่นๆ ด้วย เพื่อท่านผู้อ่านจะได้นำไปใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2552 ที่จะต้องยื่นแบบภายในเดือนมีนาคม 2553 นี้ โดยมีกรอบการ นำเสนอคร่าวๆ ดังนี้

1. การบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์

2. การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ และคนทุพพลภาพ

3. ยกเว้นภาษีให้ผู้สูงอายุ (65 ปีบริบูรณ์) สำหรับเงินได้ 190,000 บาท

4. เบี้ยประกันชีวิต

5. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย

6. ค่าลดหย่อนบุพการี

7. เบี้ยประกันสุขภาพบุพการี


1.การบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์

เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย สมควรกำหนดให้เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายในปี พ.ศ. 2552 เป็นเงินได้พึงประเมิน ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา อันจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยออกเป็นกฎกระทรวงฉบับที่ 271 (พ.ศ. 2552)ฯ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178)

1.1 สาระสำคัญ

ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เป็นจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท

1.2 หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

1. ต้องจ่ายไปในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาดังกล่าว

2. ผู้มีเงินได้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์

3. อสังหาริมทรัพย์นั้นต้องไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

ตัวอย่างแนววินิจฉัยของกรมสรรพากร

ตัวอย่างที่ 1 กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อบ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย2

ประเด็นปัญหา นาย ต.ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร (พร้อมสิ่งปลูกสร้าง) กับบริษัท ก. (บริษัทฯ) จำนวน 1 แปลง ในบริเวณหมู่บ้าน ข. ซึ่งที่ดินแปลงดังกล่าวเคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้อื่นมาก่อนแล้ว แต่บริษัทฯ แจ้งว่า จะดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ ดังนั้น กรณีเจ้าของที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน (พร้อมสิ่งปลูกสร้าง) ให้แก่นาย ต. โดยตรงกับกรณีที่เจ้าของที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บริษัทฯ แล้ว บริษัทฯ จึงจะจดทะเบียนโอนให้แก่นาย ต. อีกทอดหนึ่ง กรณีใดจะถือว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 1(1) วรรคสอง ของประกาศอธิบดี เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหา- ริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือ ห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 และจะต้องใช้เอกสารใดประกอบการขอยกเว้นภาษีในกรณีดังกล่าว
แนววินิจฉัย การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยตามข้อ 1(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178)ฯ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 นั้น จะต้องเป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดที่ไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดมาก่อน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ดังนั้น หากที่ดินจัดสรรและสิ่งปลูกสร้างที่นายต. ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบริษัทฯ นั้น ยังไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ย่อมถือได้ว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่เคยผ่านการจดเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อน ตามข้อ 1(1) วรรคสอง ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ฉบับดังกล่าว และหนังสือรับรองที่จะใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์ว่า มีการจ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้น ต้องเป็นหนังสือรับรองที่ผู้ขายออกให้แก่ผู้ซื้อ และต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ฉบับดังกล่าว

ตัวอย่างที่ 2 กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ 3

ประเด็นปัญหา ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีบ้านและมีชื่อในทะเบียนบ้านอยู่แล้ว แต่มีความประสงค์จะซื้อคอนโดมิเนียมในโครงการเก่าที่ตั้งมากว่า 10 ปี แต่ยังขาย ไม่หมด หรือซื้อคอนโดมิเนียมจากการเคหะ- แห่งชาติและเป็นการซื้อแบบเงินผ่อนโดยนำเงินกู้จากธนาคารมาวางเป็นเงินดาวน์ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2552 จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่าย เป็นค่าซื้ออสังหา- ริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 หรือไม่
แนววินิจฉัย ผู้มีเงินได้ฯ ต้องซื้อคอนโด มิเนียมที่เป็นห้องชุดในอาคารชุดและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในคอนโดมิเนียมที่เป็นห้องชุด ในอาคารชุดนั้นให้แล้วเสร็จในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และเป็นคอนโดมิเนียมที่เป็นห้องชุดในอาคารชุดที่ไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดมาก่อนไม่ว่าทั้งหมดหรือ บางส่วน โดยให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อคอนโดมิเนียมที่เป็นห้องชุดในอาคารชุดนั้น ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท ทั้งนี้ จะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ขายที่พิสูจน์ ได้ว่า มีการจ่ายเป็นค่าซื้อคอนโดมิเนียมที่เป็นห้องชุดในอาคารชุด โดยมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศ และผู้มีเงินได้ฯ ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในคอนโดมิเนียมที่เป็นห้องชุดในอาคารชุดที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปี นับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในคอนโดมิเนียมที่เป็นห้องชุดในอาคารชุดดังกล่าว

ตัวอย่างที่ 3 กรณีซื้อบ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย4

ประเด็นปัญหา นาย ก. ได้ซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากโครงการหมู่บ้านอยู่สบาย ราคา 3,045,000 บาท เป็นบ้านที่สร้างใหม่เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2552 โดยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และจำนองบ้านพร้อมที่ดินกับธนาคารกรุงไทย จำกัด ในวันเดียวกัน และได้ย้ายชื่อเข้ามาอยู่บ้านดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2552 จึงขอทราบว่า มีสิทธินำค่าซื้อบ้านมายกเว้นภาษีเงินได้ประจำปีภาษี 2552 จำนวน 300,000 บาท และนำดอกเบี้ยที่ชำระให้ธนาคารฯ มาหักลดหย่อน ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย

1. กรณีนาย ก. ได้ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างใหม่ หากนาย ก. ได้จ่ายเงินค่าซื้อบ้านพร้อมที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ในปี 2552 ซึ่งบ้านหลังดังกล่าวต้องไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ก็จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เท่ากับจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 271 (พ.ศ. 2552) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

2. กรณีนาย ก. ได้นำบ้านพร้อมที่ดินไป จดทะเบียนจำนองกับธนาคารฯ นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เท่ากับจำนวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และได้รับสิทธิยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้อีกตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 90,000 บาท ตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 166) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551

ตัวอย่างที่ 4 กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ 5

ประเด็นปัญหา ได้ประมูลซื้ออสังหา-ริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ในราคา 800,000 บาท จากเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งได้ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ ของจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างขายให้กับประชาชนทั่วไป แต่สิ่งปลูกสร้างยังสร้างไม่เสร็จ หากจะทำการก่อสร้างต่อ ต้องใช้เวลาประมาณ 4 เดือน จึงจะแล้วเสร็จ และได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2552 ประเด็นจึงมีว่า การซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งยังสร้างไม่เสร็จดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนเงินสามแสนบาท หรือไม่ แนววินิจฉัย กรณีได้ประมูลซื้ออสังหา-ริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินจากเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่สิ่งปลูกสร้างยังสร้างไม่เสร็จ หากจะทำการก่อสร้างต่อต้องใช้เวลาประมาณ 4 เดือน จึงจะแล้วเสร็จ และยังไม่สามารถใช้เป็น ที่อยู่อาศัยได้ แต่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหา- ริมทรัพย์นั้นแล้ว เงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้รับยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 271 (พ.ศ. 2552) ออกตามความในประมวล-รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร แต่หากได้ทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จและพร้อมอยู่อาศัย ได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 เงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินสามแสนบาท
2.การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ และคนทุพพลภาพ 6

โดยที่รัฐบาลมีนโยบายเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนพิการหรือทุพพลภาพ จึงได้กำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา สามีหรือภริยาบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ บิดามารดาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ หรือบุคคลอื่นที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการโดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ สามารถนำค่าอุปการะเลี้ยงดูบุคคล ดังกล่าวมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อันเป็นการสนับสนุนการอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ โดยมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สำคัญดังนี้

http://www.sanpakornsarn.com

 

Tags : รู้สิทธิยกเว้นและค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view