http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,989,905
เปิดเพจ7,844,615

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร

เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร 
                         ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๘๐) พ.ศ. ๒๕๕๒ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้มีภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้นจำนวนไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาทในปีภาษีนั้น แต่ผู้มีเงินได้ยังคงมีหน้าที่ในการคำนวณและเสียภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป เพื่อให้การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครั้งนี้เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงในสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ 
 
                         ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๒) ถึง (๘) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่ ๖๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป นอกจากจะต้องคำนวณภาษีตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว (เงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คูณด้วยอัตราภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้) ผู้มีเงินได้จะต้องคำนวณภาษีตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย โดยนำเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๒) ถึง (๘) แห่งประมวลรัษฎากรดังกล่าว คูณด้วยอัตราภาษีร้อยละ ๐.๕ หากมีจำนวนภาษีที่ต้องเสียมากกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร และมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ผู้มีเงินได้ดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร 
ตัวอย่าง 
                              (๑) กรณีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร มีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท และไม่มีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร 
                              ในปีภาษี ๒๕๕๒ นาย ก. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๘) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวนทั้งสิ้น ๘๐๐,๐๐๐ บาท 
การคำนวณตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร 
เงินได้พึงประเมิน ๘๐๐,๐๐๐  บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ ๘๐ ๖๔๐,๐๐๐   บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้  ๓๐,๐๐๐   บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ  ๑๓๐,๐๐๐   บาท
หัก เงินได้สุทธิ ๑๕๐,๐๐๐ บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี) ๑๕๐,๐๐๐   บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี  -   บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ ๑๐) -   บาท
การคำนวณตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร   
เงินได้พึงประเมิน  ๘๐๐,๐๐๐   บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ ๐.๕ คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน ๔,๐๐๐  บาท
                              ดังนั้น ในปีภาษี ๒๕๕๒ นาย ก. ได้รับยกเว้นภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด 
                              (๒) กรณีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร มีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท และมากกว่าภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร 
                              ในปีภาษี ๒๕๕๒ นาย ข. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๘) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวนทั้งสิ้น ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท 
การคำนวณตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร   
เงินได้พึงประเมิน  ๑,๐๐๐,๐๐๐  บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ ๘๐  ๘๐๐,๐๐๐   บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้  ๓๐,๐๐๐   บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ  ๑๗๐,๐๐๐   บาท
หัก เงินได้สุทธิ ๑๕๐,๐๐๐ บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี)  ๑๕๐,๐๐๐   บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี  ๒๐,๐๐๐  บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ ๑๐)  ๒,๐๐๐   บาท
การคำนวณตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร   
เงินได้พึงประเมิน  ๑,๐๐๐,๐๐๐  บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ ๐.๕ คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน  ๕,๐๐๐   บาท
                              ดังนั้น ในปีภาษี ๒๕๕๒ นาย ข. ต้องเสียภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวน ๒,๐๐๐ บาท
                              (๓) กรณีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร มีจำนวนทั้งสิ้นเกิน ๕,๐๐๐ บาท และมากกว่าภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร 
                              ในปีภาษี ๒๕๕๒ นาย ค. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา ๔๐ (๘) แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษี ๒๕๕๒ จำนวนทั้งสิ้น ๑,๑๐๐,๐๐๐ บาท 
การคำนวณตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร   
เงินได้พึงประเมิน  ๑,๑๐๐,๐๐๐   บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ ๘๐ ๘๘๐,๐๐๐  บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้  ๓๐,๐๐๐  บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ  ๑๙๐,๐๐๐  บาท
หัก เงินได้สุทธิ ๑๕๐,๐๐๐ บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี) ๑๕๐,๐๐๐  บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี  ๔๐,๐๐๐  บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ ๑๐)  ๔,๐๐๐  บาท
การคำนวณตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร 
เงินได้พึงประเมิน  ๑,๑๐๐,๐๐๐  บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ ๐.๕ คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน  ๕,๕๐๐  บาท 
      ดังนั้น ในปีภาษี ๒๕๕๒ นาย ค. ต้องเสียภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวน ๕,๕๐๐ บาท 
                      
http://www.rd.go.th/publish/36827.0.html

Tags : การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view