http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,988,049
เปิดเพจ7,842,297

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

การหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีค่าเบี้ยประกันชีวิตตามหลักเกณฑ์ใหม่

การหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีค่าเบี้ยประกันชีวิตตามหลักเกณฑ์ใหม่

การออมในรูปแบบของการประกันชีวิตมีความสำคัญ ผู้ซื้อประกันจะได้รับความคุ้มครองหากมีการสูญเสียเกิดขึ้น ทายาทหรือบุคคลใกล้ชิดจะได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นการบรรเทาภาระครอบครัวให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ ภาครัฐจึงได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนและกำหนดให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี กรณีเบี้ยประกันชีวิตที่ผู้มีเงินได้จ่ายเพื่อการประกันชีวิตที่กรมธรรม์มีอายุไม่ต่ำกว่า 10 ปี และเป็นการทำประกันชีวิตกับบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศ โดยให้สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตตามจำนวนที่จ่ายจริงไปคำนวณหักเป็นค่าลดหย่อนได้ และหากผู้มีเงินได้มีคู่สมรสซึ่งไม่มีเงินได้แต่ได้มีการทำประกันชีวิตก็สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสมาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีของผู้มีเงินได้ได้ด้วย นอกจากนี้เงินชดเชย ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำประกันหรือบุคคลอื่นได้รับเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี โดยค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตสามารถหักได้เป็นจำนวน 4,000 บาท ตั้งแต่ปี 2515 และปรับเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 บาท ในปี 2525 เป็นจำนวน 10,000 บาท ในปี 2534 และในปี 2545 หักค่าลดหย่อนจำนวน 10,000 บาทและยกเว้นเงินได้ 40,000 บาท รวมเป็น 50,000 บาท และในปี 2551 ได้ปรับเพิ่มเงินได้ยกเว้นเป็น 90,000 บาท รวมเป็น 100,000 บาท ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีใกล้เคียงกับการออมในรูปของการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขที่กำหนด (ตามตาราง)

การหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตที่ผ่านมาได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพื่อการคำนวณภาษีโดยมิได้คำนึงถึงรูปแบบของกรมธรรม์ที่ธุรกิจประกันชีวิตขายให้แก่ผู้ซื้อประกัน ทั้งนี้โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นหน่วยงานควบคุม ผู้ซื้อประกันจึงใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด แต่เมื่อมีการปรับค่าลดหย่อนให้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 100,000 บาท ธุรกิจได้เสนอขายกรมธรรม์ที่มีการคืนเงินให้กับผู้ทำประกันในอัตราที่สูงเกินกว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ธุรกิจนำไปลงทุนและได้จ่ายให้ผู้ซื้อประกัน ซึ่งที่ผ่านมามีอัตราเฉลี่ยต่อเบี้ยประกันที่จ่ายตลอดอายุกรมธรรม์ประมาณไม่เกินร้อยละ 5 โดยจำนวนเงินคืนที่ผู้มีเงินได้ได้รับเมื่อหักกลบกับเบี้ยประกันที่จ่ายจะเหลือเป็นเงินออมแต่ละปีจำนวนเพียงเล็กน้อยและใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีเต็มจำนวน จึงเสมือนเป็นการนำเงินภาษีของรัฐมาคืนให้กับผู้ซื้อประกัน รวมทั้งค่าเบี้ยประกันภัยอื่นที่ผู้ทำประกันได้ซื้อเพื่อขยายความคุ้มครองเพิ่มจากกรมธรรม์ประกันชีวิตหลัก ได้แก่ คุ้มครองอุบัติเหตุ คุ้มครองสุขภาพ เป็นต้น เบี้ยประกันดังกล่าวบางกรมธรรม์มีจำนวนสูงกว่าเบี้ยประกันชีวิตหลักและได้นำไปหักในการคำนวณภาษี ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายในการได้รับสิทธิการหักค่าลดหย่อนภาษีเฉพาะส่วนของการประกันชีวิตเพื่อการออมระยะยาว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมิได้มีการควบคุม รวมทั้งชี้แจงการใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีที่ถูกต้อง ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของภาครัฐ ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ไม่เหมาะสมและถูกต้อง กรมสรรพากรจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์การได้รับเงินคืนจากกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ผู้มีเงินได้จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตสามารถหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้โดยสรุปดังนี้

หลักเกณฑ์การหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต

ตามกฎกระทรวง (ฉบับที่ 266) พ.ศ. 2551ฯ ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172)ฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิตที่สามารถนำไปคำนวณได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ดังนี้

1. เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และเป็นการประกันกับบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศ

2. กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนระหว่างอายุกรมธรรม์

2.1 กรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ผู้มี เงินได้ได้รับเงินคืนทุกปี เงินคืนที่ได้รับในแต่ละปีต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตที่ได้จ่ายในแต่ละปี หรือ

2.2 กรณีมีการรับเงินคืนไม่ทุกปีแต่มีการได้รับเงินคืนเป็นช่วงๆ ระยะเวลา เงินคืนที่ ได้รับต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมในช่วงระยะเวลานั้นๆ หรือ

2.3 กรณีการรับเงินคืนที่แตกต่างจาก 2.1 หรือ 2.2 ผลรวมของเงินคืนที่ได้รับในช่วงระยะเวลาที่มีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตสะสม ที่จ่ายทั้งหมดตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่ได้รับเงินคืน

ทั้งนี้การคำนวณเงินคืนข้างต้นใช้คำนวณเฉพาะช่วงที่ได้มีการจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต โดยเงินคืนที่ผู้มีเงินได้ได้รับจากการประกันชีวิตที่เกินกว่า 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 ข้างต้นจะไม่สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตมาคำนวณหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้

เงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน ได้แก่ เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้มีเงินได้ได้รับจากการประกันชีวิตโดยไม่ว่าจะมีชื่อเรียกอย่างอื่น ได้แก่ เงินปันผล เงินโบนัส เงินคืน เงิน-สัมมนาคุณ เป็นต้น สำหรับเงินปันผลที่เป็นผลตอบแทนของบริษัท โดยจะประกาศจ่ายให้ผู้ซื้อประกันตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์ประกันชีวิต ซึ่งสะท้อนและเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนที่แท้จริงซึ่งมีเป็นจำนวนที่ไม่แน่นอนในแต่ละปี โดยที่ผ่านมามีจำนวนเพียงร้อยละ 0.5-3 ของเบี้ยประกันชีวิตในแต่ละปีนั้น จะไม่ถือเป็นเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนที่ต้องคำนวณตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว

3. กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มิได้มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนหรือทุนประกันเมื่อสิ้นสุดอายุสัญญากรมธรรม์ หรือกรมธรรม์ที่ผู้มีเงินได้มิได้มีการรับเงินคืนระหว่างปีแต่จะได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนเมื่อสิ้นสุดอายุสัญญากรมธรรม์ ผู้มีเงินได้สามารถหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีในปีที่ได้มีการจ่ายเบี้ยประกันได้

4. กรมธรรม์ประกันชีวิตที่ขยายความคุ้มครองสุขภาพและหรืออุบัติเหตุและหรือการประกันภัยประเภทอื่นที่มีสัญญาเพิ่มเติมแนบอยู่หรือไม่มีสัญญาเพิ่มเติมแนบอยู่ สามารถหักค่าลดหย่อนภาษีได้เฉพาะเบี้ยประกันที่จ่ายเพื่อการประกันชีวิตตามกรมธรรม์ประกันชีวิตหลักเท่านั้น ทั้งนี้บริษัทประกันชีวิตต้องแยกรายการเบี้ยประกันภัยอื่นออกจากเบี้ยประกันชีวิตอย่างชัดเจน

5. การคำนวณหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตข้างต้น ผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามกฎหมายแต่เสมือนเท่ากับหักค่าลดหย่อนได้เพิ่มขึ้นจาก 50,000 บาทแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยหากผู้มีเงินได้ไม่มีคู่สมรสหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้รวมเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท แต่หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรสซึ่งไม่มีเงินได้ คู่สมรสหักค่าลดหย่อนได้จำนวน 10,000 บาท และหากคู่สมรสมีเงินได้สามารถหักค่า ลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท

6. หากผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิประโยชน์ภาษีข้างต้นแล้ว ต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตไปหักเพื่อการยกเว้นภาษีพร้อมเงินเพิ่ม

http://www.sanpakornsarn.com

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view