http://www.autoflight.co.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

Home

Product

Download

Contact Us

ส่วนหนึ่งของผู้ใช้งาน

SmartBiz Free

สถิติ

เปิดเว็บ08/02/2008
อัพเดท20/05/2023
ผู้เข้าชม4,980,345
เปิดเพจ7,830,759

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่องานบัญชี.

สรรพากรเปิดให้บริการรับแบบฯ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจ าปีภาษี 2556 นอกสถานที่เพิ่มเติม

1ก.พ.เริ่มใช้เลขผู้เสียภาษี13หลัก

ผู้เสียภาษีที่มีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

"สรรพากร" เคาะภาษีบุคคลฯ อัตราใหม่ เล็งปรับลดอัตราเพดานการจัดเก็บให้ถี่ขึ้น เพื่อลดช่องว่างในแต่ละช่วงอัตราภาษีให้แคบลง

สปส.ขยายเวลายื่นกู้น้ำท่วมถึงเดือนเมษายน 255

แนวทางการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

มาตร​การภาษี​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ

ผู้บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาได้ โดย

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 100,000 บาท

สัมมนาฟรี มุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หลักการบันทึกบัญชี : หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction)

ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทารา แนวหน้า SME นักธุรกิจ แกรนด์ สัมมนาฟรี

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรมสรรพากรจับมือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ 1111 ให้บริการตอบปัญหาภาษีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (1161) ผ่านช่องทางโทรศัพท์ในระบบ Call Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรฐานบัญชีของไทยในปัจจุบัน

แบงก์กรุงไทยแนะรีบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

การบัญชีบริหาร

สรรพากรใจดีให้คนไทยที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรและให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

สรรพากรเผยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่นขอลดหย่อนภาษีได้

กำหนดการจัดสัมมนาภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากรจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ E - Commerce

ปีนี้ยังจำเป็นต้องคงภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ไว้ที่ 7% ก่อน

การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

บริการรับ ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ภาษีคณะบุคคล

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ภาษีคณะบุคคล

การบัญชีต้นทุน

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การรับเงิน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาใช้เพื่อการประกอบกิจการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โปรแกรมบัญชี

รวมคำถามที่ถามบ่อย

สิ่งที่ผู้บริหารมือใหม่ควรทราบเป็นเบี้องต้น

จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ !!

กรมสรรพากรขยายเวลารับแบบฯ ภาษีเต่างๆสำหรับบุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้กับท้องที่ที่เกิดอุทกภัย

กฎหมายออกใหม่ กรกฎาคม 2550

ข้อหารือภาษีอากร

Tax Point จุดรับผิดทางภาษี

คำถามยอดนิยม RMF LTF

การขอคืนภาษี

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้

การจำหน่ายหนี้สูญ

การขอคัดแบบแสดงรายการภาษี

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีอากร

ทำไม กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

การออกใบกำกับภาษี

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

ประเภทของใบกำกับภาษี

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สิทธิของผู้เสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร

กรมสรรพากรเตือนบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี

ภาษีสิ่งแวดล้อม

ภาษีสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบันกระแสของการรักษา สิ่งแวดล้อม ได้แพร่กระจายไปในทุกๆ สังคม และทุกๆ ประเทศทั่วโลก คำว่า Green Economy หรือ Green Technology คงจะไม่ใช่คำที่ไม่คุ้นหูคุ้นตากันอีกต่อไป เราจะเห็น ได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจหลายธุรกิจในประเทศไทยได้มีการนำหลักของความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ซึ่งรวม ไปถึงแนวความคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนและการรักษาสิ่งแวดล้อม เข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจเครือซิเมนต์ไทย นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งในหน่วยงานของราชการก็ตาม
หากพิจารณาจากทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ วัตถุประสงค์หลักของการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ก็สืบเนื่องมาจากเหตุผล ที่ว่าต้นทุนทางสังคมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการผลิตสินค้าหรือกิจกรรมการให้บริการจะมีค่าสูงกว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นๆ หากการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อม (Negative Externality) ดังนั้นหากบริษัทไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบในทางลบเหล่านี้ก็จะทำให้มีการตัดสินใจผลิตสินค้าในปริมาณที่มากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ที่ใช้สาร CFC เพื่อ ช่วยทำความเย็น จะมีการผลิตในจำนวนที่มากเกินไป เนื่องจากในกระบวนการตัดสินใจเรื่องปริมาณการผลิตของบริษัทนั้น ไม่ได้มีการพิจารณาถึงต้นทุนทางสังคมของกิจกรรมการผลิตดังกล่าวต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ทำให้มีการคำนวณต้นทุนของบริษัทออกมาในระดับที่ต่ำเกินไปและส่งผลให้มีการผลิตสินค้าในปริมาณที่สูงเกินไปนั่นเอง

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศหลายๆประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา ได้มีการนำเครื่องมือ ทางภาษีมาใช้เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่นมีการจัดเก็บ carbon tax หรือ petroleum tax หรือในบางประเทศก็ได้นำระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม เช่นค่าธรรมเนียมในการกำจัดขยะมูลฝอย มาใช้ เป็นต้น มาตรการด้านภาษีเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อให้ ผู้ผลิต หรือผู้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้นำต้นทุนทางสังคมหรือในที่นี้คือต้นทุนที่เกิดจากผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมการผลิตของตนมาคิดเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตด้วย ซึ่งจะทำให้บริษัทหรือผู้ประกอบการธุรกิจได้มีจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

สำหรับในบทความนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างของภาษีที่มีการนำมาใช้เพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม แนวความคิดทางนโยบายเกี่ยวกับการนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้ ว่าในการนำภาษีดังกล่าวมาใช้นั้น รัฐบาลควรจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยใดบ้าง ตลอดจนนำเสนอทิศทางของประเทศไทยต่อการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน และตัวอย่างของการนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้ในประเทศเยอรมัน


1.ประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

ภาษีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีอยู่หลากหลายประเภท แต่ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างภาษี ที่อาจส่งผลกระทบไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ต่อสิ่งแวดล้อม 4 ประเภท ได้แก่ Pigouvian tax ภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อม ภาษีอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ภาษีสรรพสามิต หรือภาษีเงินได้ และ Earmarked tax

1.1 Pigouvian tax
Pigouvain tax เป็นวิธีการจัดเก็บภาษีที่คลาสสิกที่สุดในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อม การจัดเก็บภาษีประเภทนี้จะมีการกำหนดอัตราภาษีที่ตายตัวและแน่นอน โดยอัตราภาษีจะ คิดต่อปริมาณของการปล่อยของเสีย หรือต่อปริมาณของความเสียหายที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้น

อัตราภาษี Pigouvian tax จะถูกกำหนดให้เท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่มทางสังคมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากพิจารณาในทางเศรษฐ-ศาสตร์พบว่าการกำหนดอัตราภาษี Pigouvian tax ที่เหมาะสมจะต้องทำให้ต้นทุนส่วนเพิ่ม (MarginalCost) เท่ากับประโยชน์ส่วนเพิ่ม (Marginal Benefit)ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้น

อัตราภาษี Pigouvian tax จะเป็นอัตราที่ตายตัวและไม่ได้ขึ้นอยู่กับมูลค่าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เนื่องจากอัตราภาษีจะถูกกำหนดโดยอิงกับปริมาณความเสียหายหรือปริมาณของเสียที่ถูกปลดปล่อยจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยไม่ได้ถูกกำหนดโดยราคาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าว

Pigouvian tax นับเป็นภาษีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากภาษีจะกระทบต่อต้นทุนของการปล่อยมลพิษหรือของเสียโดยตรง นอกจากนี้การจัดเก็บภาษีในลักษณะนี้ยังส่งผลให้ผู้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อ สิ่งแวดล้อมสามารถลดจำนวนการปล่อยมลพิษให้สอดคล้องหรือเป็นไปตามขนาดของการผลิต การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิต และการทดแทนปัจจัยการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม Pigouvian tax ก็มีข้อจำกัดเช่นกัน เช่นในเรื่องของการกำหนดต้นทุนส่วนเพิ่มทางสังคม และอัตราภาษีที่เหมาะสม นอกจากนั้น ยังมีประเด็นปัญหาในเรื่องของการวัดผลการจัดเก็บภาษี การติดตามการจัดเก็บภาษีและปัญหาความสมัครใจในการเสียภาษี ซึ่งอาจส่งผลให้หลายๆประเทศไม่ได้นำภาษีประเภทนี้มาใช้เพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม แต่จะเลือกนำภาษีประเภทอื่นที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าแต่มีต้นทุนในการบริหารจัดเก็บที่ต่ำกว่ามาใช้แทน

1.2 ภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อม (Indirect Environmental Tax)

ภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อมนี้จัดเก็บจากการใช้ปัจจัยการผลิตหรือหรือเก็บจากปริมาณการบริโภคสินค้า ภายใต้เงื่อนไขว่าการผลิตหรือการบริโภคดังกล่าวมีผลต่อการปลดปล่อยมลพิษที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อมจะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณการปล่อยมลพิษและจำนวนความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนเช่นกรณีของ Pigouvian tax แต่จะ ส่งผลต่อราคาโดยเปรียบเทียบของสินค้าที่ก่อ ให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม คือจะทำให้ราคาโดยเปรียบเทียบของสินค้าที่ถูกเก็บภาษีมีราคาแพงขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบทางอ้อมต่อปริมาณมลพิษและความเสียหายที่จะถูกปลดปล่อยจากการผลิตหรือการบริโภคสินค้านั้นๆ

การนำภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อมมาใช้เนื่องมาจากเหตุผลสำคัญ 2 เหตุผล ได้แก่

(1) สัดส่วนของการใช้ปัจจัยการผลิตหรือสัดส่วนของการบริโภคคิดเป็นสัดส่วนที่คงที่ต่อจำนวนการปล่อยมลพิษ ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อม ที่จัดเก็บบนฐานของการใช้ปัจจัยการผลิตหรือการบริโภคสามารถที่จะส่งผลต่อปริมาณการปล่อยมลพิษได้ในที่สุด

(2) อีกเหตุผลหนึ่งที่มีการนำภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อมมาใช้ก็เนื่องจากการจัดเก็บภาษีบนปัจจัยการผลิตนั้นในบางกรณีอาจเป็นทางเลือกทางนโยบายที่ประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดเก็บมากที่สุดเมื่อเทียบกับภาษีประเภทอื่นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน

ในส่วนของการวัดประสิทธิภาพของภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อมพบว่า ภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อมจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไรก็ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างฐานภาษีกับจำนวนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม โดยภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อมจะมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับ Pigouvian tax ในการลดจำนวนการปลดปล่อยมลพิษก็ต่อเมื่อฐานภาษี (ซึ่งในที่นี้ได้แก่ปริมาณการใช้ปัจจัยการผลิตและจำนวนการบริโภคสินค้า) มีความสัมพันธ์ในลักษณะของการมีสัดส่วนที่คงที่ (fixed proportion) กับปริมาณมลพิษหรือปริมาณความเสียหายที่จะ ถูกปลดปล่อย และหากฐานภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อมไม่มีความสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์กับปริมาณความเสียหายน้อยเท่าไร ประสิทธิภาพของภาษีประเภทนี้ก็จะลดลงมากเท่านั้น

ตัวอย่างของภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อม ที่ประเทศต่างๆได้มีการนำมาใช้กันได้แก่ Carbon tax และ petroleum tax

ในกรณีของ Carbon tax นั้น พบว่ามีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับ Pigouvian tax เนื่องจากฐานภาษีของ Carbon tax ซึ่งได้แก่ จำนวนเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuels) มีความสัมพันธ์ในสัดส่วนที่คงที่ต่อจำนวนความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
Carbon tax มีการนำมาใช้เพื่อบรรเทาปัญหาโลกร้อนที่เกิดมาจากการปลดปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นผลมาจากการระเบิดของเชื้อเพลิงฟอสซิล (combustion of fossil fuels) หากเปรียบเทียบการใช้ Carbon tax กับ Pigouvian tax จะพบว่าในกรณีของการใช้ Pigouvian tax จะต้องเป็นการจัดเก็บภาษีจากปริมาณการปลดปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรง แต่ไม่เก็บผ่านจำนวนเชื้อเพลิงฟอสซิลเหมือนกรณีของ Carbon tax อย่างไรก็ตามเนื่องจากสัดส่วนของ fossil fuels กับ การปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์มีสัดส่วนที่คงที่ ดังนั้น carbon tax และ Pigouvian tax จึงมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันในการแก้ไขปัญหาการปลดปล่อยมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ในกรณีของ Petroleum tax ซึ่งมีการ นำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศนั้น พบว่าไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับ Pigouvian tax เนื่องจากไม่ปรากฎความสัมพันธ์ในลักษณะสัดส่วนที่คงที่ระหว่างการใช้ปิโตรเลียมกับจำนวนความเสียหายหรือจำนวนมลพิษที่มีการปลดปล่อยออกมา
การที่ภาษีปิโตรเลียมไม่ได้เกี่ยวข้อง อย่างเป็นสัดส่วนคงที่กับการปล่อยมลพิษหรือของเสียต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากจำนวนมลพิษ ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากยานพาหนะไม่ได้ขึ้นอยู่กับ combussion of fossil fuel อย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของยานพาหนะ ความเร็วในการขับเคลื่อน คุณภาพของถนน และปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นแม้การใช้ภาษีปิโตรเลียมจะมีส่วนช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมแต่ประสิทธิภาพของภาษีประเภทนี้ในการลดปริมาณมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมก็ยังน้อยเมื่อเทียบกับการใช้ Pigouvian tax นอกจากนี้จำนวนมลพิษที่ปลดปล่อยออกมาจากยานพาหนะยังสามารถลดลงได้จากปัจจัยอื่นๆ เช่นการลดจำนวน mile ของการขับเคลื่อนของยานพาหนะ การดูแลรักษายานพาหนะ ตลอดจนการปรับปรุงเทคโนโลยีของยานพาหนะอีกด้วย ซึ่งภาษีปิโตรเลียมซึ่งเป็นภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อมไม่มีอิทธิพลใดๆต่อปัจจัยเหล่านี้เลย

1.3 ภาษีอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยไม่เฉพาะเจาะจง

นอกจาก Pigouvian tax และ ภาษี สิ่งแวดล้อมทางอ้อมแล้ว ยังมีภาษีประเภทอื่นๆ ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยไม่ได้ตั้งใจหรือโดย ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ภาษีสรรพสามิต หรือ ภาษีเงินได้ สำหรับภาษีสรรพสามิตนั้นพบว่า การเก็บภาษีสรรพสามิตบนผลิตภัณฑ์น้ำมันจะ ส่งผลกระทบโดยไม่เฉพาะเจาะจงต่อการลดปริมาณความเสียหายที่จะเกิดจากมลพิษต่อสภาพแวดล้อมได้ สำหรับภาษีเงินได้ก็เช่นกันสามรถมีผลโดยไม่เฉพาะเจาะจงต่อสิ่งแวดล้อม เช่นในกรณีที่มีการส่งเสริมให้มีการลงทุนในเทคโนโลยีหรือกิจกรรมทางการเกษตรที่เน้นทุนเป็นหลัก (capital intensive) ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมต่อรูปแบบในการทำการเกษตรและ ส่งผลให้มีการปลดปล่อยมลพิษมากขึ้นก็ได้ ในกรณีดังกล่าวภาษีเงินได้ก็จะส่งผลทางลบต่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

1.4 Earmarked tax

ภาษีประเภทนี้เป็นภาษีที่เก็บโดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มรายรับเพื่อนำไปใช้ในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่จะเป็นการเก็บภาษีเพื่อให้กระทบต่อราคาโดยเปรียบเทียบของผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง ซึ่งจะแตกต่างจากการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อม ที่มุ่งเน้นให้การจัดเก็บภาษีมีผลกระทบต่อราคาโดยเปรียบเทียบของสินค้าที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม


2.ปัจจัยที่มีผลต่อการนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาบังคับใช้

ในการพิจารณาทางเลือกนโยบายในการปฏิรูประบบภาษีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการรักษาสิ่งแวดล้อมนั้น มีปัจจัยสำคัญ 2 ปัจจัย ที่ต้องนำมาพิจารณา คือ

2.1 มาตรการจูงใจพิเศษหรืออัตราภาษีพิเศษที่อาจมีผลกระทบโดยไม่จงใจต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการที่ต้องมีการทบทวนระบบภาษีทั้งหมดนั้น ผู้ตัดสินนโยบายจะต้องพิจารณาว่ามีมาตรการจูงใจพิเศษหรืออัตราภาษีพิเศษอะไรบ้างหรือไม่ ที่อาจส่งผลทางลบโดยไม่จงใจต่อสิ่งแวดล้อม และควรจะต้องพิจารณาทบทวนหรือยกเลิกมาตรการดังกล่าวหรือไม่

2.2 การตัดสินใจเลือกนโยบายภาษี สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและต้นทุนต่ำ ปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ตัดสินใจด้านนโยบาย จะต้องพิจารณาเมื่อจะนำภาษีที่กระทบต่อ สิ่งแวดล้อมมาใช้ คือการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ภาษีลักษณะใดจึงจะเหมาะสมและมีต้นทุนการบริหารจัดเก็บที่ต่ำ
ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างแนวทางและประเด็นที่ผู้ตัดสินใจด้านนโยบายจะต้องพิจารณาก่อนที่จะนำภาษีด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ ดังนี้

2.2.1 ต้องพิจารณาข้อดีและข้อด้อยของทางเลือกภาษีแต่ละประเภท

• Pigouvian tax มีข้อด้อยคือการให้คำจำกัดความของ pigouvian tax ค่อนข้างยาก นอกจากนั้นการติดตามการจัดเก็บภาษีก็ทำได้ยากเช่นกัน โดยเฉพาะในการกำหนดอัตราภาษีที่เหมาะสมที่จะทำให้ต้นทุนทางสังคมของความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเท่ากับต้นทุนทางสังคมของ abatement

• ภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อมอาจมีต้นทุนในการบริหารจัดเก็บที่ต่ำกว่า แต่จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่าเช่นกัน

2.2.2 ประเด็นเชิงมิติ เช่นสถานที่ และระยะเวลาของการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม

ประเด็นในเชิงมิติของปัญหาสิ่งแวดล้อมอาจส่งผลให้การออกแบบภาษีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นไปได้ยาก ยกตัวอย่างเช่น ต้นทุนของมลพิษทางอากาศจากการปล่อยของเสียจากรถยนต์จะสูงที่สุดในพื้นที่เมือง และยังขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในแต่ละวันด้วยว่าช่วงใด ที่ต้นทุนจากการปล่อยมลพิษจะสูงที่สุด

2.2.3 ประเด็นปัญหาที่สืบเนื่องจากภาษีสิ่งแวดล้อม

การนำภาษีสิ่งแวดล้อมบางประเภทมาใช้อาจส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในกลไกตลาด (Market Failure) ได้ เช่นในกรณีของการนำภาษีสิ่งแวดล้อมทางอ้อมมาใช้ ซึ่งปัญหาอาจเกิดขึ้นแม้ในกรณีที่เราสามารถทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการใช้ปัจจัยการผลิตกับจำนวนการปล่อยมลพิษ เช่นในกรณีของการบังคับใช้ภาษีปิโตรเลียมกับประเทศที่ยากจนซึ่งในบางครั้งนำมาสู่ Market Failure

นอกจากนี้การนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้อาจไม่ก่อให้เกิดผลในการปรับปรุงกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการในอันที่จะนำไปสู่การลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตของตน ในทางตรงข้ามผู้ผลิตมักจะผลักภาระภาษีสิ่งแวดล้อมดังกล่าวไปให้กับผู้บริโภคโดยเฉพาะผู้ผลิตที่ เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการผลิตเพื่อหากำไรสูงสุด ซึ่งมักจะผลักภาระ ภาษีสิ่งแวดล้อมที่ตนต้องรับภาระไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่พิจารณาที่จะปรับปรุงกระบวนการผลิตของตน

2.2.4 ภาษีสิ่งแวดล้อมมักจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในภาวะความไม่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้ในขณะที่เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในระบบเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะภาษีจะไม่มีประสิทธิภาพในการช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

2.2.5 ความขัดแย้งทางด้านนโยบายของการนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้

การนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้อาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งในวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลต้องการจะบรรลุ เช่นวัตถุประสงค์ในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมกับวัตถุประสงค์ด้านการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คืออัตราภาษีที่กำหนดเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ใน การดูแลสิ่งแวดล้อมมักจะอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราภาษีที่ต้องจัดเก็บเพื่อบรรลุวัตุประสงค์ ทางด้านรายได้ หรือในบางกรณีการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมยังส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ในการกระจายรายได้ของรัฐบาลเนื่องจากภาษีสิ่งแวดล้อมอาจมีลักษณะถดถอย ทำให้คนจนต้องแบกรับภาระภาษีที่สูงกว่าคนรวย ซึ่งขัดแย้งกับหลักการในการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการช่วยกระจายรายได้


3.ทิศทางในการนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้ในประเทศไทย

จริงๆ แล้ว ตั้งแต่ปี 2535 ประเทศไทย ได้เริ่มหันมาให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมาก ยิ่งขึ้น โดยได้มีการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและเห็นความจำเป็นที่จะต้องหันมาให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ และฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการกำหนดให้มีการกำกับดูแล และบทลงโทษ เพื่อควบคุมให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม พระราช-บัญญัติฉบับนี้ ไม่ได้เน้นที่การสร้างจิตสำนึก และแรงจูงใจให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้หันมาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้นแนวคิดเกี่ยวกับภาษีสิ่งแวดล้อมจึงเป็นแนวคิดที่จะเข้ามาเสริมหลักการของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ในปี 2548 กระทรวงการคลังได้ทำการ ยกร่าง พระราชบัญญัติภาษีสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ มีการจัดเก็บภาษีจากสินค้า บริการ และกิจการที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีความเป็นระบบและชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากการยกร่างพระ-ราชบัญญัติภาษีสิ่งแวดล้อมแล้ว รัฐบาลไทยยังได้มีการกำหนดแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2550 - 2554 ซึ่งเป็นแผนระดับชาติในการจัดการสิ่งแวดล้อมในระยะ 5 ปี หลักการของแผนฯ นี้คือการสนับสนุนให้มีการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการจัดการปัญหา สิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยให้กำหนดทิศทางการ จัดเก็บภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อมของหน่วยราชการต่างๆ ให้มีความเหมาะสมและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

จากกรอบการทำงานของแผนฯดังกล่าวทำให้มีความพยายามในการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้ในประเทศไทย โดยที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐหลายแห่ง ได้ศึกษาและพยายามจัดทำกฎหมายด้านภาษีสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นเครื่องมือทางการคลังในการจัดการ สิ่งแวดล้อม เช่นการเก็บค่าธรรมเนียมการปล่อยมลพิษ (Emission Charge) จากโรงงาน หรือ การจัดการของเสียอันตรายจากผลิตภัณฑ์ที่ ใช้แล้ว เป็นต้น

ในการพิจารณาหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมนั้น จะเป็นไปตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pay Principal: PPP) คือจะเป็นการจัดเก็บภาษีกับผู้ที่สมควรมีหน้าที่รับผิดชอบจริงๆ นั่นก็คือผู้ก่อมลพิษ ไม่ใช่เป็นการจัดเก็บกับประชาชนที่ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นในการก่อให้เกิดมลภาวะ ผ่านการผลักภาระภาษีไปในราคาสินค้า นอกจากนี้ในการบริหารจัดการเงินภาษีสิ่งแวดล้อมที่จัดเก็บมาได้นั้น ควรจะนำใช้กับการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยต้องมีกรอบว่าจะมีการดำเนินการจัดสรรเงินภาษีอย่างไร และหน่วยงานใดที่ควรจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดเก็บภาษี

http://www.sanpakornsarn.com

view

หน้าแรก

ผลิตภัณฑโปรแกรมบัญชี

Contact Us

view